ชุมชน คนรุ่นใหม่ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ (Gen-V for Disaster)

          

ความเป็นมา หลักการและเหตุผล

ศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสาเพื่อผู้ประสบภัย หรือ Gen-V เกิดขึ้นเมื่อปลายปี  พ.ศ.2554  ในช่วงวิกฤตอุทกภัยใหญ่จากการรวมตัวของอาสาสมัครคนรุ่นใหม่หลากหลายกลุ่ม ได้รับการสนับสนุนจากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิโกมลคีมทอง กิจกรรมในช่วงแรกได้แก่ คอนเสิร์ตระดมทุนเพื่อผู้ประสบภัย ณ บริเวณศูนย์การค้ามาบุญครอง (MBK)  เพื่อระดมเงินบริจาคและเครื่องอุปโภคบริโภค บรรจุถุงยังชีพ และส่งต่อไปยังพื้นที่ประสบภัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง

ขณะนั้น ความสนใจการทำงานจิตอาสามีมาก อีกทั้งการบริจาคเงินและสิ่งของต่างๆ   ยังต่อเนื่องด้วยสถานการณ์ปัญหาอุทกภัยยังไม่คลี่คลาย อีกทั้งยังขยายวงกว้างมากขึ้น Gen-V จึงร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายได้แก่ มูลนิธิโกมลคีมทอง, หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทรปัญโญ,  สถาบันวิมุตตยาลัย, เครือข่ายพุทธิกา,เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน(แห่งประเทศไทย), ตลาดสีเขียว, มูลนิธิสุขภาพไทย ฯลฯ  จัดตั้งศูนย์ประสานงานและรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยขึ้น ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทรปัญโญ (สวนโมกข์) กรุงเทพฯศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีเป้าหมาย เรื่องบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ  โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นฝ่ายต่างๆ ได้แก่ บรรจุถุงยังชีพ สื่อสารสาธารณะ ข้อมูล  ลงพื้นที่ สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งโรงครัวเอง Gen-V และภาคีเครือข่ายช่วยจัดส่งวัตถุดิบสำหรับการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดการจัดการและลดความเสี่ยงอาหารเน่าเสียก่อนถึงมือผู้ประสบภัย  นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคในส่วนภูมิภาคได้แก่ นครราชสีมา, เชียงใหม่, สงขลา  (หาดใหญ่), นครปฐม และสมุทรสงครามเพื่อระดมวัตถุดิบป้อนสู่โรงครัวที่จัดตั้งขึ้น

หลังสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ  Gen-V ร่วมกับภาคีเครือข่ายและชุมชนวางแผนฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมีกิจกรรมและนวัตกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวระยะสั้น การปลูกผักปลอดสารเคมีและตลาดสีเขียว สวนผักลอยน้ำตัวอย่างสำ หรับชุมชนที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน แผนที่ทำมือ/แผนที่ชุมชนสำาหรับการเข้าช่วยเหลือของหน่วยงาน  เครือข่ายเยาวชนเฝ้าระวังอุทกภัยในชุมชนปักธงสีตามบ้านเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือลำดับต้น ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาดเพื่อชุมชน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดสามารถสร้างแกนนำาอาสาสมัครเพื่อดูแลรับผิดชอบชุมชนนำร่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล(SCBF)  และภาคีเครือข่ายจากภาคเอกชน

 ในปีนี้   Gen-V  ได้กำาหนดเป้าหมายหลักคือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครคนรุ่นใหม่ที่สนใจประเด็นภัยพิบัติได้เรียนรู้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในมิติต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหามีความรู้ เครื่องมือ ทักษะการเป็นอาสาสมัครเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ การประสานความร่วมมือร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อหาแนวทางในการรับมือภัยพิบัติที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนและนำไปสู่การจัดทำาแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติชุมชน นอกจากนี้ยังคาดหวังให้ชุมชนที่ประสบภัยพิบัติต่อเนื่องเป็นพื้นที่เรียนรู้การจัดการรับมือภัยพิบัติให้กับกลุ่มอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ โดยแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคจะมีวิธีจัดการรับมือภัยพิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก่อให้เกิดนวัตกรรมการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติที่เป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นต่อไป และเพื่อให้การดำาเนินโครงการมีความชัดเจนอGen-V   ได้กำหนดกรอบประเด็นภัยพิบัติ  ได้แก่     ดินโคลนถล่ม น้ำหลาก  น้ำท่วมขัง รวมถึงประเด็นการจัดการน้ำที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนที ่เกิดภัยพิบัติเป็นประจำาและพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นอาสาสมัครเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

 2. สร้างกลไกความร่วมมือการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติระหว่างอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคีเครือข่ายจากภายนอก

กลุ่มเป้าหมาย

1. เป้าหมายหลัก

อาสาสมัครคนรุ่นใหม่ นิสิต นักศึกษา เยาวชนหรืออาสาสมัครในชุมชนที่มีความสนใจเรียนรู้ประเด็นภัยพิบัติในชุมชนพื้นที่ประสบภัยหรือพื้นที่เสี่ยง ต้องการพัฒนาศักยภาพการเป็นอาสาสมัครเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในชุมชน และมีความสนใจพัฒนาตนเองเป็นแกนนำาอาสาสมัคร จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่มนิสิตนักศึกษา สังกัดสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันกับชุมชนพื้นที่ เป้าหมาย      จำนวน 6 กลุ่ม

2) กลุ่มเยาวชนหรืออาสาสมัครชุมชน อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 6 กลุ่ม

ผู้นำชุมชนหรือสมาชิกชุมชน พื้นที่ประสบภัยหรือพื้นที่เสี่ยงที่กลุ่มอาสาสมัครคนรุ่นใหม่เข้าไปทำกิจกรรม มีความสนใจร่วมสนับสนุนการดำาเนินกิจกรรมของอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ และพัฒนาตนเองสู่การเป็นแกนนำชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ  จำนวน 12 ชุมชน

2. เป้าหมายรอง

หน่วยงานในพื้นที่และภาคีเครือข่าย เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถานศึกษาหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มของอาสาสมัครคนรุ่นใหม่หรือร่วมสนับสนุนชุมชนให้มีการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

7 เดือน  ตั้งแต่มีนาคม –  กันยายน 2558   (กรณีของกลุ่มผู้รับทุนสนับสนุน)

ทุนสนับสนุน

             สนับสนุนงบดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ ไม่เกิน 150,000 บาท

เงื่อนไขในการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ

             -  เสนอแนวคิดเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ   ตามแบบรูปแบบที่กำหนดให้

             -  กรณีกลุ่มนิสิตนักศึกษา   สถาบันการศึกษาที่สังกัดอยู่ในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงชุมชนพื้นที่ภัยพิบัติ

เป้าหมายที่ใช้ดำเนินกิจกรรม

             -  กรณีกลุ่มเยาวชนหรืออาสาสมัครชุมชน อาศัยอยู่ในชุมชนที่เกิดภัยพิบัติต่อเนื่องเป็นประจำ

             -  มีผู้รับผิดชอบโครงการ 5-10 คน  และมีที่ปรึกษาโครงการเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาหรือผู้นำชุมชนพื้นที่เป้าหมายที่มีส่วนร่วมตลอดระยะเวลาโครงการอย่างน้อย 1    คน

             -  เสนอแนวคิด วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินกิจกรรมในกรอบประเด็นภัยพิบัติ  ได้แก่ดินโคลนถล่ม น้ำหลาก น้ำท่วม และประเด็นการจัดการน้ำที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย

             -  เสนอแผนตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในเบื้องต้น ซึ่งประกอบไปด้วย การเตรียมพร้อมก่อนเกิดภัย, การปฏิบัติงานระหว่างเกิดภัย และการฟื้นฟูและบรรเทาสถานการณ์หลังเกิดภัยพิบัติ

             -  แกนนำผู้รับผิดชอบหรือสมาชิกโครงการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ

             -  การดำเนินกิจกรรม เวที  หรือกระบวนการภายใต้โครงการต้องมีเยาวชน อาสาสมัครชุมชนสมาชิกชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมหรือให้สนับสนุนการดำาเนินงาน

             -  นำเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการที่เสนอในกรอบวงเงินไม่เกิน 150,000 บาท

             -  ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อพิจารณาภายในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2558

AttachmentSize
รายละเอียดโครงการGenY.pdf261.9 KB