การศึกษาดูงานการจัดการร่วมกันในการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองและพื้นที่ชุ่มน้ำที่ประสบความสำเร็จ

ผู้แทนจากประเทศบังคลาเทศมาศึกษาดูงานวิธีการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วมในประเทศไทย

ภาพและเรื่อง โดย Kanchana Wiset

แนวทางการจัดการร่วมกันและการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  สามารถแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้สำเร็จอยู่บ่อยๆ  ตัวอย่างมากมายจากประเทศไทยเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจยิ่ง  ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ได้จัดทำโครงการศึกษาดูงานให้กับผู้แทนจากบังคลาเทศ  ระหว่างวันที่ 1-9 กรกฎาคม 2555  และได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์จากกรณีตัวอย่างบางกรณีแก่ผู้เข้าร่วมดูงาน

 

การศึกษาดูงานด้าน “ยุทธศาสตร์การจัดการร่วมกันในพื้นที่คุ้มครองและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย”  จัดทำขึ้นสำหรับผู้แทนจากบังคลาเทศ จำนวน 11 คน  จากโครงการการจัดการแบบผสมผสานร่วมกันในพื้นที่คุ้มครอง  (Integrated Projected Area Co-Management หรือ IPAC)  เป็นโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก USAID  เป็นผู้แทนจาก 4 กระทรวง คือ กระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ กระทรวงประมงและปศุสัตว์ กระทรวงแผนงาน และกระทรวงการคลัง

 The delegates took a look the significant point that the local eco-tourism group will bring the tourist to watch the wild animals.ผู้แทนจากบังคลาเทศกวาดตามองหาสัตว์ป่า

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน คือ

  • เพิ่มพูนความรู้ด้านการจัดการป่าไม้ร่วมกัน และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย
  • เพื่อทำความเข้าใจกับวิธีการจัดการและกระบวนการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่ชุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วม
  • ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน เพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืนที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย
The delegates walk through the forest of Kui Buri National Park.
ขณะกำลังเดินในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

การศึกษาดูงานใช้เวลา 9 วัน  เพื่อเรียนรู้กรณีศึกษา 4 กรณี  วิธีการศึกษาดูงานมีทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้  และการเยี่ยมชมศึกษาในพื้นที่  หลังจากนั้นผู้แทนที่ร่วมดูงานจะนำข้อค้นพบมาถกเถียงกันในกลุ่ม  ท้ายที่สุด เป็นการสรุปโดยนำบทเรียนต่างๆ ที่ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นจากการศึกษาดูงาน  มาถกเถียงและหาข้อสรุป  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และนำไปส่งเสริมในประเทศของพวกเขา

 

“เป็นการศึกษาดูงานที่มีประสิทธิผลมาก  เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย ที่สามารถนำไปใช้ในประเทศของพวกเราได้”  คุณรีอาซ  อุตดิน (ผู้ช่วยหัวหน้ากอง กองการเกษตร ทรัพยากรน้ำ และสถาบันชนบท)

 

การศึกษาดูงานในวันแรกเป็นการแนะนำผู้เข้าร่วมได้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน จากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  โดยทั้ง 2 ท่านได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ  ผู้แทนจากบังคลาเทศได้เรียนรู้แนวคิดการจัดการร่วมกันจากวิทยากรของศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า และได้ร่วมกันระบุหลักการเบื้องต้น 13 หลักการ  สำหรับการจัดการป่าไม้ร่วมกันอย่างประสบผลสำเร็จ

พื้นที่แรกที่เข้าเยี่ยมศึกษาดูงานคือ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ที่นำกระบวนการจัดการร่วมกันมาประยุกต์ใช้ ในการลดความขัดแย้งเกี่ยวกับการแย่งชิงทรัพยากร  และประสบความสำเร็จ  ในกรณีนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างฝูงช้างป่าและคน  ทางอุทยานฯ ได้ดำเนินการเสริมสร้างความตระหนักรู้ของคนในพื้นที่  โดยดึงคนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการต่างๆ และจัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นในพื้นที่  ปัจจุบันคนในท้องถิ่นแสดงความพยายามในการช่วยให้ช้างป่ามีชีวิตรอดปลอดภัย  และชอบให้มีช้างป่าอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น

ต่อจากนั้นคณะศึกษาดูงานได้มุ่งลงใต้เพื่อดูงานที่ทะเลน้อย จังหวัดสงขลา  เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศตามอนุสัญญา Ramsar (1) มีเรือพาคณะดูงานเข้าศึกษาระบบนิเวศในทะเลสาบแห่งนี้อย่างใกล้ชิด  ได้มีโอกาสเห็นพื้นที่ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันหลายแห่ง อาทิ  ป่าพรุ (swamp forest)   ป่าเสม็ดขาว (Melaleuca forest)    มวลน้ำ  ป่าดิบชื้น และพื้นที่การเกษตร  พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับเป็นแหล่งเพาะฟักตัวอ่อน (bird nesting) และแหล่งอาหารของนก  คนท้องถิ่นก็พึ่งพิงกับทรัพยากรในทะเลสาบเพื่อการดำรงชีพ  คนท้องถิ่นจำนวนมากมีอาชีพทำการประมงและการท่องเที่ยว  นอกจากนี้คณะดูงานยังได้มีโอกาสสำรวจศึกษาตัวอย่างการส่งเสริมอาชีพทางเลือกหลายตัวอย่าง อาทิ การเกษตรอินทรีย์ที่มีการส่งเสริมในพื้นที่นี้  เพื่อลดความกดดันต่อพื้นที่ชุ่มน้ำจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำ

คณะศึกษาดูงานเดินทางต่อไปยังจังหวัดตรัง ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมที่แข็งแกร่ง  ที่นี่คณะศึกษาดูงานได้มีโอกาสศึกษาสังเกตกิจกรรมการจัดการร่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในตำบลลิบง  เกาะลิบงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของ พะยูน  ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมที่หายาก  และเป็นแหล่งหญ้าทะเลหลายชนิด  คณะศึกษาดูงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับชมรมประมงพื้นบ้านของจังหวัดตรัง ที่ประสบความสำเร็จในด้านการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพากันแสดงความขอบคุณในความพยายามและความสำเร็จของชมรมนี้ ที่ส่งผลให้มีการนำความคิดเห็นและการริเริ่มของคนในท้องถิ่น ไปพิจารณาเมื่อมีการปฏิรูปโยบาย ทั้งในระดับตำบลและระดับจังหวัด  ตัวอย่างเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ของลิบง  ตกลงตามคำเรียกร้องของคนในท้องถิ่นและประกาศใช้ “กฎข้อบังคับของ อบต.ลิบง เรื่องการอนุรักษ์พะยูน ในปี พ.ศ.2555

The delegates took a boat to explore nature and biodiversity in Thale Noi Lake and then stopped at the bird nesting points. Thale Noi Lake is a nesting place for domestic and migratory birds and it is also Important Bird Areas (IBAs).

คณะศึกษาดูงานล่องเรือชมธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพรอบๆ ทะเลน้อย  ได้หยุดชมแหล่งเพาะพันธุ์ของนกท้องถิ่นและนกอพยพ  ทะเลน้อยมีพื้นที่นกที่มีความสำคัญ (Important Bird Areas) หลายแห่ง

คุณโมฮัมหมัด มุซาฮิดุล อิสลาม (นักเคมีอาวุโส จากกรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การศึกษาดูงานครั้งนี้มีประโยชน์มาก  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลร่วมกัน และการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกัน”

The delegates learn local initiative called
“ธนาคารปู” ที่เป็นการริเริ่มโดยคนท้องถิ่นสามารถช่วยอนุรักษ์พันธุ์ในเบื้องต้น และเพิ่มประชากรปูในภายหลัง

คณะศึกษาดูงานได้มีโอกาสพบกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ที่กำลังทำงานด้านนี้ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในจังหวัด  และได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  องค์กรเหล่านี้ให้การสนับสนุนในหลายๆ ด้าน อาทิ จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักของคนในท้องถิ่น กำหนดแนวเขตชุมชนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  จัดค่ายเยาวชน จัดการแสดงนิทรรศการ และส่งเสริมทางเลือกอื่นเพื่อการประกอบอาชีพ

สถานที่ดูงานแห่งสุดท้ายคือ ชุมชนบ้านน้ำรับ  ชุมชนนี้มีการจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง  ที่ทำให้สามารถดำรงรักษาวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืน  โดยปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการทำการประมง  จากการประมงแบบทำลายล้างเป็นการประมงแบบยั่งยืน  คณะศึกษาดูงานมีโอกาสได้ศึกษาสังเกตระบบและโครงการจัดการทรัพยากรร่วมกันหลายระบบหลายโครงการ  อาทิ กฎข้อบังคับของท้องถิ่นเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่ง  การกำหนดประเภทกิจกรรมการประมงที่ผิดกฎหมายและที่ไม่อนุญาต  จัดตั้งคณะกรรมการป่าชายเลนชุมชน  จัดกลุ่มอาสาสมัครลาดตระเวน  ส่งเสริมธนาคารปู  และให้การสนับสนุนด้านการตลาด และการซ่อมบำรุงเรือสำหรับชาวประมง

ก่อนการศึกษาดูงานจะสิ้นสุดลง  ผู้แทนจากบังคลาเทศที่เข้าร่วมดูงาน ร่วมกันสะท้อนบทเรียนที่ได้รับจากสถานที่ดูงานแต่ละแห่ง  ผู้เข้าร่วมหลายคนพบว่า โครงการศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ชัดเจน  เนื้อหาของการดูงานมีความเหมาะสม  มีกรณีศึกษาที่ดีและมีประโยชน์  ส่วนประกอบทั้งหมดส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานเกิดการเรียนรู้

“เป็นการศึกษาดูงานที่ดี  จัดทุกองค์ประกอบของการศึกษาดูงานได้ดีมาก  และมีสาระความรู้เต็มเปี่ยม  ฉันคิดว่าคราวนี้ฉันสามารถทำงานได้ดีขึ้น ทั้งด้านการจัดการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเรา และการพัฒนาอาชีพ”  เป็นคำพูดของคุณโมฮัมหมัด จาฮานกีร์ อลาม (เจ้าหน้าที่ประมงอับปา ซิลลา กรมประมง)


************************************************************************************************************************ 

 การศึกษาดูงานที่จัดขึ้นโดย RECOFTC เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ความรู้และประสบการณ์  ที่ผู้เข้าร่วมนำไปปฏิบัติได้  เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนแนวความคิดที่ส่งเสริมให้คนและป่าอยู่ด้วยกัน  จุดมุ่งหมายของการศึกษาดูงานของศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า คือเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ต่างกัน  เปิดโลกทัศน์เรื่องป่าชุมชนให้กว้างไกลขึ้นสำหรับผู้เข้าร่วม  และเสริมสร้างให้ผู้เข้าร่วมมีทักษะความสามารถที่จำเป็น  เพื่อนำบทเรียนที่ได้รับจากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้ในงานของพวกเขา


(1) อนุสัญญาว่าด้วยความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ  หรือที่เรียกว่า อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)  เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล  ที่กำหนดกรอบการปฏิบัติการของชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://www.ramsar.org.

 

News Type: