RECOFTC Thailand
News

สืบทอดเจตนา...คนกับป่าที่อยู่ร่วมกันได้ กับโจทย์การสร้างการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของพรบ.อุทยานแห่งชาติ 2562

"ผมคิดว่าป่าไม้จะอยู่ได้ คนต้องอยู่ได้ก่อน เพราะคนที่ด้อยโอกาสในสังคม เขาไม่สามารถจะไปเรียกร้องอะไร เขาไม่มีอำนาจ ไม่มีอิทธิพลอะไร คนพวกนี้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับป่าไม้ เขาควรที่จะได้ใช้ประโยชน์จากป่า ผมคิดว่าป่าจะอยู่หรือไปขึ้นอยู่กับคนเหล่านี้ด้วย หากคนของรัฐเข้าใจ ปัญหานี้แล้วกำหนดนโยบายออกมาเพื่อคนกลุ่มนี้บ้าง ปัญหาก็จะหมดไป" จากหนังสือชีวิตและผลงานของสืบ นาคะเสถียร

พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2562
Photo cr. หนังสือชีวิตและผลงาน สืบ นาคะเสถียร

ขอร่วมรำลึก  29 ปี ของสืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์คนสำคัญของไทยที่เล็งเห็นและตระหนักถึงคุณค่าการสร้างมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทางคือการอยู่ร่วมกัน ระหว่างคนกับป่า กระตุ้นให้สังคมเล็งเห็นการดูแลรักษาป่าไปพร้อมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและรัฐไปพร้อมกัน

พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2562ตามมติ ครม. 26 พ.ย. 61 ได้รับรองมติของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งระบุให้กำหนดขอบเขตและรับรองสิทธิทำกินให้ชุมชนที่อยู่เดิม แต่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ในเขตอนุรักษ์รวมทั้งอุทยานแห่งชาติและต่อมามี พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มารองรับนโยบายสู่การปฏิบัติซึ่งจะต้องมีการสำรวจ  และตรวจสอบการถือครองที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยให้แล้วเสร็จตามมาตรา 64 ใน 240 วันหลัง กฎหมายบังคับใช้นอกจากนั้นยังต้องสำรวจแนวเขตพื้นที่ป่าและสำรวจทรัพยากรที่ทดแทนได้ ของป่าต่างๆ ตามมาตรา 65 ให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาเดียวกัน

พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2562


แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการเตรียมการสำรวจ เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทั้งที่ทำกิน เขตป่าใช้ประโยชน์ก็สามารถดำเนินการตั้งแต่กฎหมายประกาศใช้ในราชกิจจานุเษกษาได้ ซึ่งก็จะมีเวลารวม 420 วันในการสำรวจและจัดทำข้อมูลร่วมกัน  หากพ้นระยะเวลานี้จะไม่มีการสำรวจอีก เว้นแต่กฎหมายมีการแก้ไข ซึ่งส่งผลต่อสิทธิชุมชนต่อพื้นที่ทั้ง 2 ประเภทในเขตอุทยาน เพราะชุดข้อมูลแนวเขตที่ทำกินที่อยู่อาศัย (ม.64) จะเสนอพิจารณาและรับรองโดยพระราชกฤษฎีกาโดยมีแผนที่แนบท้าย ส่วนเขตป่าที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรทดแทนได้ (ม.65) จะเสนอพิจารณาและรับรองโดยเป็นกฎกระทรวงต่อไปตามลำดับ