การจัดการลุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม
การจัดการลุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม
“ลุ่มน้ำ” หรือ Watershed หมายถึง พื้นที่รับน้ำฝนทั้งหมดที่อยู่เหนือจุดกำหนดให้ออก โดยฝนที่ตกลงมาในพื้นที่นั้นจะไหลไปรวมที่จุดออก(Outlet) เดียวกัน ณ จุดกำหนดให้นี้เท่านั้น ลุ่มน้ำมีองค์ประกอบ ดังนี้ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น และทรัพยากรคุณภาพชีวิต (สังคมสิ่งแวดล้อม) ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้อยู่รวมกันอย่างกลมกลืนเป็นลุ่มน้ำที่มีลักษณะและแสดงบทบาทเฉพาะ จึงมักเรียกลุ่มน้ำเป็นทรัพยากรลุ่มน้ำ หรือระบบทรัพยากร ประเทศไทยมี 25 ลุ่มน้ำหลัก ดังนี้ ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำแม่กก ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำบางประกง ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำเพชรบุรี ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้ำทะเลสาลสงขลา ลุ่มน้ำปัตตานี ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
“การจัดการลุ่มน้ำ” หมายถึง การจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติทุกๆอย่าง ภายในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบผสมผสาน โดยเฉพาะทรัพยาการที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ชุมชน พื้นที่เมือง ให้มีสัดส่วนการกระจายตัวที่เหมาะสม มีมาตรการป้องกันและควบคุมผลกระทบที่อาจจะเกิดจากากรใช้อย่างไม่ถูกวิธี และมีการปรับปรุงหรือฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมโทม ให้ลุ่มน้ำนั้นยังคงทำหน้าที่สนองตอบต่อความต้องการทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะ ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ได้อย่างยืนยาว สิ่งที่จะบ่งบอกถึงผลผลสัมฤทธิ์ของการจัดการดูจาก ปริมาณน้ำที่เพียงพอ ช่วงเวลาการไหลสม่ำเสมอและคุณภาพดี รวมถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำด้วย
“การจัดการลุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม” หมายถึง การจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติทุกๆอย่าง ภายในพื้นที่ลุ่มน้ำร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่ร่วมกันกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ต้องการจัดการ ร่วมกันคิดวิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมกันตัดสินใจกำหนดทิศทางการการจัดการ ร่วมกันลงมือฏิบัติ ร่วมกับรับผิดชอบผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้น และร่วมกันจัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึงเท่าเทียม