Welcome To RECOFTC Publications

การจัดการลุ่มนํ้าอิงอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

Date
21 Mar 2019
Authors
ไกรทอง เหง้าน้อย, นุชจรีย์ สิงคราช, ระวี ถาวร, สุภาภรณ์ สุวรรณสิทธิ์
Editors
ไกรทอง เหง้าน้อย, นุชจรีย์ สิงคราช, ระวี ถาวร, สุภาภรณ์ สุวรรณสิทธิ์
Publisher
ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC)
Serial No.
0000335
ISBN/ISSN
978-616-8089-16-3
การจัดการลุ่มนํ้าอิงอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

การจัดการลุ่มนํ้าที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนโดยมีแนวคิดการจัดการลุ่มนํ้าที่ไม่ได้แยกส่วนทรัพยากรนํ้าออกจากทรัพยากรอื่นในระบบนิเวศลุ่มนํ้า เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ดิน ป่าไม้ และวิถีชีวิตผู้คนซึ่งเป็นทั้งฐานคิดและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการใช้และดูแลลุ่มนํ้าอย่างยั่งยืน เพื่อความเข้าใจเรื่องการจัดการลุ่มนํ้าว่าคืออะไร จัดการอะไร จัดการอย่างไรจึงจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการจัดการลุ่มนํ้าแบบยั่งยืน การเรียนรู้จากรูปธรรมความยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มนํ้าอิง ที่เป็นการจัดการลุ่มนํ้าแบบบูรณาการ โดยชุมชนและความร่วมมือหลากหลายภาคส่วน (Integrated Watershed Resources Management) รูปแบบการจัดการเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ในมิติทางความรู้วิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ท้องถิ่น ด้านสังคม และระบบนิเวศ และวีถีวัฒนธรรม จัดการลุ่มนํ้าคือการจัดการความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ การใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณนํ้า คุณภาพนํ้า และช่วงเวลาในการไหลออกจากพื้นที่ลุ่มนํ้าเป็นตัวชี้วัดรวมที่สำคัญ ทั้งนี้ลุ่มนํ้าอิงมีความพยายามในการจัดการลุ่มนํ้าโดยใช้แนวคิดดังกล่าวคือ การเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในลุ่มนํ้า พร้อมกับบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เครือข่ายภาคประชาสังคม สถาบันการวิชาการ และสภาประชาชนลุ่มนํ้าอิง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรประชาชนกับภาคีต่างๆในลุ่มนํ้า ทั้งนี้เกิดบทเรียนประสบการณ์และที่สามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างรูปธรรมความยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มนํ้าอื่นๆ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญ