APA 6th ed. กระบวนการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการป่าในพื้นที่คุ้มครอง กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน. (2022, November 29). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000430
MLA 8th ed. กระบวนการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการป่าในพื้นที่คุ้มครอง กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน. RECOFTC, 29 November 2022, https://www.recoftc.org/publications/0000430.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2022. "กระบวนการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการป่าในพื้นที่คุ้มครอง กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน." Published November 29, 2022. https://www.recoftc.org/publications/0000430.
กระบวนการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการป่าในพื้นที่คุ้มครอง กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้วที่กระบวนการขับเคลื่อนสิทธิชุมชนได้ขาดความต่อเนื่องและการส่งต่อ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในพื้นที่กลับยังพบว่ามีการเหลื่อมล้ำในสิทธิชุมชนที่พบเห็นได้ทั่วไป
ดังนั้นเพื่อศึกษาสถานการณ์ของสิทธิชุมชนและการจัดการป่าที่เปลี่ยนไปในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ อันจะนำไปสู่การทำความเข้าใจและหาแนวทางในการส่งเสริมการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในพื้นที่คุ้มครอง ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ประเทศไทย (RECOFTC) จึงได้จัดทำงานศึกษาชิ้นนี้โดยได้เข้าไปทำการศึกษา ณ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานและชุมชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น ได้แก่ บ้านกิ่วน้ำและบ้านห้วยวิน เพื่อรวบรวมนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนในการจัดการป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครอง
นอกจากนี้ยังศึกษากระบวนการและกลไกในการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนในการจัดการป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครอง รวมถึงศึกษากระบวนการและกลไกในการนำนโยบายและกฎหมายไปปรับใช้ อีกทั้งสรุปภาพรวมของปัจจัยที่เอื้อและท้าทายในการขับเคลื่อนสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการป่าไม้ในพื้นที่คุ้มครอง
เอกสารนี้ศึกษาและจัดทำโดยโครงการป่าไม้ภาคพลเมือง (Citizens’ Forest Network หรือ CF-Net) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อสนับสนุนเครือข่ายป่าชุมชนผ่านการพัฒนากลไกธรรมาภิบาลป่าไม้ เสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพหุภาคี ผู้นำป่าชุมชน รวมถึงส่งเสริมบทบาทกลุ่มสตรีและเยาวชนในกลไกการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย