APA 6th ed. Assessing Forest Governance in Thailand. (2018, August 3). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000310
MLA 8th ed. Assessing Forest Governance in Thailand. RECOFTC, 3 August 2018, https://www.recoftc.org/publications/0000310.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2018. "Assessing Forest Governance in Thailand." Published August 3, 2018. https://www.recoftc.org/publications/0000310.
บทสรุปเชิงนโยบายการประเมินธรรมาภิบาลป่าไม้ในประเทศไทย ข้อท้าทายและแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งของธรรมาภิบาล
รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างธรรมาภิบาลป่าไม้ในประเทศ โดยมีการตั้งเป้าหมายและออกกฎหมายเพื่อรองรับในเรื่องนี้ แต่ยังมีข้อกังวลบางประการต่อการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะศักยภาพขององค์กรส่วนท้องถิ่นในการสร้างธรรมาภิบาล, การประสานงานระหว่างหน่วยงาน และที่สำคัญคือความไม่ชัดเจนเรื่องสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) จึงร่วมกับภาคีภาคประชาสังคมในโครงการ Voices for the Mekong Forests (V4MF)ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ในการศึกษาข้อท้าทายและนำเสนอแนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในภาคป่าไม้ของไทย รวมทั้งดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors--NSAs) โดยได้จัดทำการประเมินธรรมาภิบาลป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมขึ้นในช่วงปลายปี 2560 ถึงต้นปี 2561 ผลการประเมินที่สรุปไว้ในรายงานฉบับนี้พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการภูมิทัศน์ป่าไม้และพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากรทั้งในด้านเทคนิคและด้านปฏิบัติการ องค์กรภาคีของโครงการจะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่มโดยเฉพาะภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐ รวมทั้งภาคประชาสังคมในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายและโอกาสที่พบจากการประเมินครั้งนี้