APA 6th ed. ความเสมอภาคบทบาทของสตรี ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มคนเปราะบาง ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน. (2022, November 29). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000419
MLA 8th ed. ความเสมอภาคบทบาทของสตรี ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มคนเปราะบาง ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน. RECOFTC, 29 November 2022, https://www.recoftc.org/publications/0000419.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2022. "ความเสมอภาคบทบาทของสตรี ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มคนเปราะบาง ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน." Published November 29, 2022. https://www.recoftc.org/publications/0000419.
ความเสมอภาคบทบาทของสตรี ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มคนเปราะบาง ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าร่วมข้อตกลงระดับชาติในการส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงและชนเผ่าพื้นเมือง รวมถึงพัฒนาแผนชาติเพื่อรองรับข้อตกลง แต่ในทางปฏิบัติ บทบาทของผู้หญิงและชนเผ่าพื้นเมืองยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคป่าไม้ ทิศทางกระแสโลกมีแนวโน้มสนใจเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มุ่งเน้นเรื่องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการตัดไม้ทำลายป่า และส่งเสริมบทบาทของคนท้องถิ่นและพื้นเมือง นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติป่าชุมชน โดยได้มีการสร้างกลไกการบริหารจัดการป่าชุมชนที่สำคัญ
ทุกชีวิตล้วนมีส่วนได้เสียจากการดูแลและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในทุกพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างสมดุลและยั่งยืน จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของคนทุกฝ่ายทุกสถานภาพ
รีคอฟ ประเทศไทยจึงจัดทำรายงานนี้ ภายใต้แนวคิด “ความเสมอภาคระหว่างเพศ และความครอบคลุมทางสังคม (Social inclusion and gender equity: SIGE) โดยทบทวนสถานการณ์ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศและครอบคลุมทางในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ 2 ระดับ คือ ทบทวนและศึกษาสถานการณ์ระดับนโยบายและกฎหมาย และทบทวนและศึกษาสถานการณ์ระดับพื้นที่ และทำบทวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมบทบาทของผู้หญิง ชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มคนเปราะบาง ในการบริหารจัดการป่าไม้ พร้อมข้อเสนอแนะทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการ
เอกสารนี้ศึกษาและจัดทำโดยโครงการป่าไม้ภาคพลเมือง (Citizens’ Forest Network หรือ CF-Net) จัดพิมพ์และเผยแพร่ภายใต้แนวคิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และครอบคลุมทางสังคม (Social inclusion and gender equity: SIGE) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป เนื้อหาหรือข้อมูล และข้อคิดเห็นเชิงนโยบายที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสะท้อนความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งสวีเดน กรมพัฒนาระหว่างประเทศ และรีคอฟแต่อย่างใด