APA 6th ed. คู่มือพลเมืองสร้างป่า. (2021, February 4). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000386
MLA 8th ed. คู่มือพลเมืองสร้างป่า. RECOFTC, 4 February 2021, https://www.recoftc.org/publications/0000386.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2021. "คู่มือพลเมืองสร้างป่า." Published February 4, 2021. https://www.recoftc.org/publications/0000386.
คู่มือพลเมืองสร้างป่า
คู่มือพลเมืองสร้างป่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพลเมืองสร้างป่าซึ่งมีเป้าหมายในการร่วมเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับประเทศไทย ทั้งเพื่อประโยชน์ในทางอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนความเชื่อว่า พลเมืองทุกคนไม่ว่าจะเป็นชุมชนที่อยู่กับป่า หรือคนที่อาศัยอยู่ในเมืองล้วนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างป่าให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไรก็ตาม การปลูกป่าเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายและมักนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้ แต่การปลูกป่าเป็นป่าที่มีคุณภาพนั้นต้องตรงกับเป้าหมายและความคาดหวังของผู้ปลูกต้องเรียนรู้และวางแผนที่ดี ซึ่งคู่มือพลเมืองสร้างป่านี้ได้รวบรวมความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกป่าอย่างง่ายขึ้นมาเพื่ออธิบายหัวใจสำคัญของการปลูกป่าไว้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มจากการคัดแม่ไม้ การเก็บเมล็ดพันธุ์ การจัดการเมล็ดพันธุ์ การเพาะกล้า จนนำไปสู่การปลูกลงดิน รวมถึงการแนะนำให้รู้จักเป้าหมายและรูปแบบของป่าชนิดต่าง ๆ เพื่อสร้างป่านี้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปลูกได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) แผนงานประเทศไทย ขอขอบคุณกรมป่าไม้และนักวิชาการ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและเต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการศึกษาและลงมือปฏิบัติการเพื่อการฟื้นฟูป่าให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ ดร.ดำรง พิพัฒนวัฒนากุล คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Dr. Stephen Elliot หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์นพพร นนทภา หัวหน้ากลุ่มขุนดง และดร.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้ช่วยวางโครงร่าง ให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการพัฒนาคู่มือเล่มนี้ขึ้นมา โดยหวังว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เราทุกคน ในนามของพลเมืองของโลกนี้ได้เริ่มต้นสร้างป่าที่มีคุณภาพและยั่งยืนร่วมกัน
เอกสารฉบับนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้โดยเน้นภาคการผลิตตามแนวคิดเรดด์พลัสโดยอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชนและชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภูมิภาคเอเชีย หรือรู้จักในนามภูมิทัศน์ชีวิต (FLOURISH) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ การก่อสร้าง และความปลอดภัยทางปรมาณู (BMU) ของประเทศเยอรมันนี ภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และศูนย์วนศาสตร์ชุุมชุนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) แผนงานประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง (CF-NET) ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ซึ่งคณะผู้จัดทำขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย