APA 6th ed. การวิเคราะห์พระราชบัญญัติป่าชุมชน. (2022, March 18). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000405
MLA 8th ed. การวิเคราะห์พระราชบัญญัติป่าชุมชน. RECOFTC, 18 March 2022, https://www.recoftc.org/publications/0000405.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2022. "การวิเคราะห์พระราชบัญญัติป่าชุมชน." Published March 18, 2022. https://www.recoftc.org/publications/0000405.
การวิเคราะห์พระราชบัญญัติป่าชุมชน
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาที่สำคัญเกี่ยวกับกฎหมายภาคป่าไม้ เมื่อพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ได้ถูกบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีกฎหมายแม่บทอย่างเป็นทางการในการรับรองป่าชุมชน ส่วนกฎหมายลูกหรือกฎหมายลำดับรองยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อสร้างความชัดเจนของข้อบัญญัติเพื่อการนำไปใช้ต่อไป
ป่าชุมชน คือ การจัดการ การคุ้มครอง และการใช้ทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชนท้องถิ่น การจัดการป่าในรูปแบบนี้จะช่วยปกป้องไม่ให้ ชุมชนตกเป็นคนชายขอบจากการบริหารป่าแบบใช้นโยบายบนลงล่างและมีรัฐเป็นผู้กำหนด
บทวิเคราะห์นี้เป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายป่าชุมชนครั้งแรก ซึ่งจะช่วยอุดช่องโหว่ของการวิเคราะห์ทางกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในประเทศไทยสำหรับผู้กำหนดนโยบาย องค์กรภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในป่าและใกล้ป่า การวิเคราะห์นี้ใช้วิธีวิเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดยนักกฎหมายขององค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ClientEarth เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่า พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 ยอมรับและรับรองสิทธิของชุมชนที่อยู่ร่วมกับป่าอย่างไร
การวิเคราะห์นี้สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะส่งเสริมการนำ พระราชบัญญัติป่าชุมชนและกฎหมายลูกไปใช้ในทางปฏิบัติศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า - ประเทศไทย (RECOFTC) หวังว่า บทวิเคราะห์นี้จะช่วยให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับป่าชุมชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น และช่วยให้แน่ใจว่าแนวทางทางกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลักจะได้รับการพัฒนาในภาคป่าไม้ของประเทศไทย
David Ganz-ผู้อำนวยการบริหารรีคอฟ เอเชียแปซิฟิก
วรางคณา รัตนรัตน์-ผู้อำนวยการรีคอฟ แผนงานประเทศไทย