APA 6th ed. A model for restoring forests and improving livelihoods in Thailand. (2022, August 31). Retrieved from https://www.recoftc.org/publications/0000414
MLA 8th ed. A model for restoring forests and improving livelihoods in Thailand. RECOFTC, 31 August 2022, https://www.recoftc.org/publications/0000414.
Chicago 17th ed. RECOFTC. 2022. "A model for restoring forests and improving livelihoods in Thailand." Published August 31, 2022. https://www.recoftc.org/publications/0000414.
ต้นแบบการฟื้นฟูป่าควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนท้องถิ่นในประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศภายในพ.ศ. 2579 ซึ่งสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญสู่การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้คือบทบาทของเกษตรกรรายย่อยในการปลูกต้นไม้บนที่ดินของรัฐและการแปรรูปไม้ ทว่าเกษตรกรรายย่อยยังคงพบอุปสรรค ได้แก่ ความล่าช้าในการจัดสรรที่ดินของรัฐให้แก่เกษตรกรและชุมชน รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมายที่ซับซ้อนและไม่ชัดเจนในการปลูกต้นไม้ การตัดไม้มาแปรรูป การขนส่งไม้ และการค้าไม้
รายงานสรุปเชิงนโยบายฉบับนี้จึงเสนอแนะแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการปลูกและค้าไม้สักอย่างถูกกฎหมายและยั่งยืนโดยใช้ที่ดินของรัฐ 2 ประเภท ข้อเสนอแนะในรายงานนี้จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้และการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน ช่วยพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาคุณภาพไม้สักถูกกฎหมายที่ส่งขายให้ภาคเอกชน
รายงานสรุปเชิงนโยบายฉบับนี้จัดทำขึ้นจากการศึกษาและลงพื้นที่ในจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และดำเนินการเป็นตัวอย่างเรื่องกระบวนการปลูกต้นสักและค้าไม้สักอย่างถูกกฎหมาย และการควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้สักที่เกษตรกรรายย่อยปลูกบนที่ดินของรัฐ
รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการภูมิทัศน์ชีวิต (FLOURISH) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative: IKI) โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติและความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนี (German Federal Ministry of Environment, Nature Conservation and Nuclear Safety: BMUV) สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการภูมิทัศน์ชีวิต (FLOURISH) ได้ที่ www.recoftc.org/projects/flourish