RECOFTC Thailand
ING WATERSHED

การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 8

Sep 07
2018
-
09
Location
โรงแรมเชียงของ ทีค การ์เด้นท์ ริเวอร์ฟร้อนท์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
RECOFTC Events

ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและชุมชน (The 8th Regional Conference on Human Rights and Business in South East Asia) ได้สรุปผลการประชุมมาในรายงานนี้

ไกรทอง เหง้าน้อย ผู้ประสานงานโครงการอิง ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) ซึ่งได้เข้าการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 8 ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและชุมชน (The 8th Regional Conference on Human Rights and Business in South East Asia)ได้สรุปผลการประชุมมาในรายงานนี้

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

 

การประชุมในระดับนานาชาติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การระดมความคิดเห็นและถอดบทเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเปรียบเทียบกับสถานการณ์กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และร่วมผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบและนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีองค์กรภาคีเครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 100 คน ร่วมหารือกันในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกรณีโครงการพัฒนาที่เป็นปัญหาและส่งผลกระทบข้ามพรมแดนในหลายประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรโดยท้องถิ่น

 

บรรยากาศการประชุม

 

ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาดูงานการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ที่บ้านบุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน การอนุรักษ์ป่าชุ่มน้ำ ระบบนิเวศลุ่มน้ำ อันเกี่ยวโยงกับนโยบายการใช้พื้นที่สำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ บ้านห้วยลึก ตำบลเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ในประเด็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงซึ่งเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ วิถีชีวิตและการทำกินของประชาชนริมฝั่งโขง นอกจากนี้การสร้างเขื่อนยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำ ทำให้พันธุ์ปลาสูญหาย กระทบต่อวิถีการทำประมงและเกษตรชายฝั่ง ซึ่งที่ผ่านมาโครงการอิง และองค์กรประชาสังคมในพื้นที่ได้ร่วมกันสนับสนุนชุมชนให้เกิดการทำงานงานข้อมูลทรัพยากรในลุ่มน้ำ สะท้อนระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชน และสร้างให้เกิดความร่วมมือหลายภาคส่วนในการทำงานร่วมกัน โดยใช้กลไกเรื่องสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญไทยต่อรองกับรัฐเพื่อลดความขัดแย้งในพื้นที่

 

field1field2

 

แนวทางที่จะทำให้ธุรกิจเคารพสิทธิมุนษยชนในที่ประชุมเห็นว่า โครงการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและข้ามประเทศควรเคารพสิทธิชุมชน โดยกลไกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียนควรต้องให้ความสำคัญ และควรมีการสร้างเวทีของประชาชนในรูปแบบสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เช่นการมีสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ที่ร่วมกันวางกรอบยุทธสาสตร์การจัดการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นแนวทางของ Co-management และ Benefit sharing ในระดับลุ่มน้ำ ทั้งนี้การลงทุนของภาคธุรกิจควรมีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่ใช่เฉพาะในประเทศตนเอง แต่รวมถึงนักธุรกิจที่ทำการลงทุนข้ามแดน เนื่องจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่นักลงทุนสัญชาติไทยที่เข้าไปดำเนินการ จนเกิดการละเมิด หรือ มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิชุมชน และทำให้ชุมชนประเทศเพื่อนบ้านได้รับผลกระทบ เช่น กรณีโรงน้ำตาลในกัมพูชา โรงไฟฟ้าทวายในพม่า เขื่อนไซยะบุรีในลาว หรือล่าสุดกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในลาวแตกเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต สูญหาย สูญเสียที่อาศัยและที่ทำกินจำนวนมาก

ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาเลเซีย (Suhakam)ได้นำเสนอ ประสบการณ์ร่วมมือในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ กรณีของบริษัทมาเลเซียที่ไปลงทุนในประเทศพม่า กรณีโครงการปลูกปาล์มในเมืองมะริด ภาคใต้ของพม่า ซึ่งมีกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงยื่นคำร้อง พบว่าการใช้พื้นที่ในการปลูกโครงการปาล์มน้ำมัน ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านใน 4 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 6,000 เอเคอร์ และจะทำให้ชาวบ้านต้องได้รับผลกระทบวิถีชิต มีข้อกังวลต่อผลกระทบจากการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้าน โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) มาเลเซียประสานงานกับ กสม. พม่า เพื่อติดตามตรวจสอบในโครงการนี้ และยังมีการร้องเรียนของชาวบ้านลุ่มน้ำโขง ต่อกรณีโครงการเขื่อนดอนสะโฮง บนแม่น้ำโขงที่ลาวตอนใต้ โดยมีผู้พัฒนาโครงการคือ บริษัทเมกะเฟิรก์ส ของมาเลเซีย ต่อผลกระทบข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม กสม. มาเลเซียพบว่าคำร้องที่ได้ส่งไปไม่มีข้อมูลที่เพียงพอและไม่มีกระบวนปรึกษาหารือที่เพียงพอ และโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการประมงและวีถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ประเทศไทย โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการอนุมัติโครงการ ซึ่งถือว่าโครงการดังกล่าวละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพและวิถีชีวติของชาวบ้าน อย่างไรก็ตามตัวแทน กสม. มาเลเซีย ไม่ได้ไปลงพื้นที่ในลาว แต่ได้พบกับตัวแทนบริษัทเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม และใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีเสนอให้มีการประชุมร่วมกับบริษัทเมกะเฟิร์ส แต่ได้รับการปฎิเสธ และกฎหมายในมาเลเซีย กสม. ไม่มีอำนาจตรวจสอบโครงการที่อยู่นอกอาณาเขตได้

ตัวแทนกลุ่ม AMAN เครือข่ายชนพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ปัญหาในอินโดนีเซียคือ รัฐบาลยึดพื้นที่ของชนพื้นเมืองไป และประกาศว่าเป็นพื้นที่ของรัฐ และรัฐให้สัมปทานแก่รัฐบาลโดยไม่ได้แจ้งแก่ชนพื้นเมือง เมื่อได้รับสัมปทานบริษัทก็ทำลายป่าตามวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้าน (customary land)ชาวบ้านถูกละเมิดและหลายคนต้องตายและติดคุก เนื่องจากเคลื่อนไหวเพื่อหยุดการทำสัมปทาน ปัจจุบันชนพื้นเมืองพยายามที่จะผลักดันให้นโยบายท้องถิ่นเพื่อปกป้องสิทธิของคนพื้นเมือง ปัจจุบันมีท้องถิ่นกว่า 36 เมืองที่ได้ออกกฎหมายและข้อบัญญัติของท้องถิ่นปกป้องสิทธิชนพื้นเมือง ขณะนี้ทางองค์กรพยายามเสนอให้รัฐมีกฎหมายประเพณีของชุมชน ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ ตามที่ประธานาธิบดี โจโควี ได้ให้สัญญาไว้ แต่เครือข่ายก็ยังกังวลว่ากฎหมายจะไม่ประกาศใช้ตามสัญญา

จากเวทีนี้ที่ประชุมมีความเห็นว่าการที่จะทำให้ภาคธุรกิจคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนนั้น นักลงทุนต้องการให้ความสำคัญต่อประเด็นสิทธิชุมชนในเชิงปฏิบัติและกฏหมาย ร่วมส่งเสริมแนวทาง Co-management และ Benefit sharing ในการจัดการทรัพยากรและการดำเนินการด้านธุรกิจ ประเด็นการสร้างเขื่อนนั้นมีข้อเสนอให้มีการประเมินผลกรทบข้ามพรหมแดน และเสนอให้ทำ EER Environmental emergency response และ RA Risk assessment และที่ประชุมเชื่อมั่นว่าหากภาคธุรกิจให้การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน การลงทุนและการทำธุรกิจนั้นจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้มากกว่า และสุดท้ายที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยเรียกร้องให้สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติขยายหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยมีกลไกที่เป็นทางการในการตรวจสอบคำร้องเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดนร่วมกัน เรียกร้องให้ภาคธุรกิจที่ไปลงทุนในต่างแดนปฏิบัติตามมาตรฐานสากล คือ การเคารพสิทธิมนุษยชนและมีการเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมโดยที่การดำเนินโครงการต่าง ๆ ต้องผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอให้ภาควิชาการให้การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการจัดการข้อมูลและใช้ประโยชน์จากการวิจัยชุมชนในการปกป้องทรัพยากร ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยอมรับในสิทธิของชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยและใช้ทรัพยากรที่ดินและป่า

หลังจากการประชุมนี้ กสม.ประเทศไทยจะนำข้อสรุปและข้อเสนอจากเวที โดยเฉพาะกรณีโครงการที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งจะรายงานต่อที่ประชุมกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia National Human Rights Institutions Forum - SEANF) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 13 - 14 กันยายน นี้ ที่กรุงเทพมหานคร โดยหวังว่าหน่วยงานระดับสากล อาทิ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) และสหประชาชาติ จะได้รับรู้ประเด็นปัญหาดังกล่าวและนำสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศร่วมกันต่อไป