การจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐานช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนและวิถีการดำรงชีวิต พร้อมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน (Community-based Fire Management หรือ CBFiM) ซึ่งเปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 นั้น เป็นโครงการที่ถูกเวลากับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างยิ่งและมีความสําคัญต่อประเทศลุ่มน้ําโขงตอนล่าง ไฟป่าได้โหมกระหน่ําไปทั่วภูมิภาคในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นสร้างความเสียหายทั้งต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ทั้งยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้ปัญหาไฟป่าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม ชุมชนและภูมิทัศน์ที่ถูกทําลายรวมถึงควันและหมอกควันข้ามพรมแดนยิ่งทำให้เห็นภาพอนาคตอันหายนะของภูมิภาคอย่างชัดเจนหากไม่มีการป้องกันและควบคุมไฟป่า
ไฟป่าส่วนใหญ่ในลุ่มแม่น้ําโขงตอนล่างเป็นปัญหาที่เกิดจากคนโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น ไฟป่าที่รุนแรงจะต้องได้รับการแก้ไขโดยแนวทางที่มีชุมชนเป็นฐาน
"ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไฟป่ากําลังก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ วิถีการดํารงชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งยังทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น ในเมื่อเราเห็นแล้วว่าไฟเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ การแก้ไขปัญหาโดยเน้นที่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้นจึงไม่เพียงพอ" David Ganz ผู้อํานวยการบริหารของ RECOFTC กล่าว
"เพื่อให้สามารถจัดการไฟอย่างได้ผลและยั่งยืน การเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์โดยมีชุมชนเป็นฐานและสอดคล้องกับปัจจัยในท้องถิ่นและ อาศัยความร่วมมือกับรัฐบาลเป็นเรื่องที่จำเป็น นี่คือสิ่งที่เราหวังว่าจะสามารถบรรลุได้ด้วยความร่วมมือของเรากับกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agriculture Forest Service หรือ USDA Forest Service) เขากล่าวเพิ่มเติม
โครงการกําลังเร่งสร้างความเปลี่ยนแปลงจากการเน้นดับไฟป่าไปสู่การป้องกันไฟป่าโดยใช้มุมมองวนศาสตร์ชุมชน การผลักดันให้เพิ่มการสนับสนุนทางเทคนิคและทางการเงินในด้านการเตรียมรับมือกับไฟ การป้องกันไฟ ความพร้อม และการฟื้นฟูพื้นที่หลังเกิดไฟสําหรับชุมชนนั้นมีที่มาจากกลยุทธ์การเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติ แนวทางการทำงานในระดับระบบนี้เรียกว่าการจัดการไฟแบบบูรณาการ แนวทางนี้ได้ตอกย้ําความจําเป็นของการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน
RECOFTC ได้ทํางานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ชนบทหลายพันแห่ง รัฐบาลของประเทศในเอเชียแปซิฟิก และอาเซียนเพื่อส่งเสริม การเติบโตของวนศาสตร์ชุมชน โครงการนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจาก RECOFTC และรัฐบาลในการจัดการไฟป่าและปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิทัศน์ของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว ไทย และเวียดนาม
โครงการนี้มีเป้าหมายหลักสามประการ ประการแรกคือ เสริมสร้างนโยบาย แผน และแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน ประการที่สองคือ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับชุมชน ประการที่สามคือ แบ่งปันความรู้เพื่อปรับปรุงนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการจัดการไฟป่า
โครงการกําลังดําเนินงานอย่างรวดเร็วโดยต่อยอดจากการทำงานก่อนหน้านี้โดย RECOFTC กรมป่าไม้ของสหรัฐฯ และหน่วยงานอื่นๆ โดยได้ประเมินสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในทั้ง 4 ประเทศแล้ว และเป็นฐานที่ช่วยให้จัดทำแผนการจัดการไฟโดยมีชุมชนเป็นฐานและดําเนินการตามแผนการต่อไปได้ การประเมินโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายนี้ยังช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินงานให้สําเร็จ
"งานของเราเป็นสิ่งที่ต่อยอดจากการทำงานของกรมป่าไม้หลายทศวรรษภายในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" Marija Kono ผู้จัดการโครงการเอเชียแปซิฟิก โครงการระหว่างประเทศของกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กล่าว
- ในประเทศกัมพูชา ชุมชนชาวประมงสองแห่งในเขตพื้นที่อนุรักษ์ทางชีวภาพโตนเลสาบได้จัดทำแผนการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐานแล้ว ที่ชุมชนมีทีมจัดการไฟ โดยทีมได้เรียนรู้ทักษะที่จําเป็นในการจัดการไฟป่าและการปรับตัวให้เข้ากับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายในการต่อยอดความสําเร็จของ ชุมชนเหล่านี้ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของชุมชน นอกจากนี้ โครงการจะพยายามขยายการทำงานให้ครอบคลุมชุมชนอื่นๆ ที่ยังไม่มีแผนการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน
- ในสปป.ลาว โครงการได้ประเมินสถานการณ์และความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ขณะนี้ RECOFTC กําลังให้การสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าและการทำแผนการ จัดการไฟป่า
- ในจังหวัดน่านของประเทศไทย RECOFTC กําลังดําเนินการประเมินและให้คําปรึกษาเกี่ยวกับจุดความร้อน และจะเริ่มทำแผนการจัดการไฟโดยมีชุมชนเป็นฐานภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566
- ในประเทศเวียดนาม โครงการได้ประเมินการจัดการไฟอย่างรอบด้านแล้วและกําลังทํางานร่วมกับรัฐบาลเวียดนามในการเลือกสถานที่ที่มีความเสี่ยงเกิดไฟเพื่อเริ่มดำเนินการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน
ประเทศที่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการเหล่านี้ทราบดีเกี่ยวกับการคาดการณ์ของสหประชาชาติว่าจะเกิดไฟป่าที่รุนแรงเพิ่มขึ้นทั่วโลกถึงร้อยละ 14 ภายในปีพ.ศ. 2573 ร้อยละ 30 ภายในสิ้นปีพ.ศ. 2593 และร้อยละ 50 ภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเข้าใจถึงความจำเป็นเร่งด่วนทั้งในการมุ่งจัดการไฟป่าและสร้างความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐานซึ่งมีระยะเวลาสองปีจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนประเทศเหล่านี้ผ่านข้อตกลงความร่วมมือระดับภูมิภาคห้าปีระหว่างกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯและ RECOFTC
###
บทความนี้ผลิตขึ้นผ่านโครงการการจัดการไฟโดยชุมชนเป็นฐาน (Community-based Fire Management หรือ CBFiM) ในเอเชีย ซึ่งโครงการเกิดขึ้นได้ด้วยข้อตกลงความร่วมมือห้าปีระหว่างโครงการระหว่างประเทศของกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และ RECOFTC โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจําภาคพื้นอินโดแปซิฟิก (United States Indo-Pacific Command หรือ USINDOPACOM) ของกระทรวงกลาโหม รวมถึงเงินทุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) และโครงการระหว่างประเทศของกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.recoftc.org/projects/cbfim
งานของ RECOFTC เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนของ Swiss Agency for Development and Cooperation (SDC) และ Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA)