RECOFTC ประเทศไทย
เกี่ยวกับ

Languages

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

รีคอฟเล็งเห็นว่า ในอนาคตประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและยั่งยืน ควบคู่ไปกับความเจริญของป่าไม้และภูมิทัศน์ที่มีสุขภาพดีและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้

นับตั้งแต่การก่อตั้งเมื่อปี 2530 รีคอฟยึดถือแนวทางการทำงานดังกล่าว ซึ่งให้ทางศูนย์มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและมั่นคงมาตลอดระยะเวลาการดำเนินการของรีคอพที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม รีคอฟเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วนศาสตร์ชุมชนที่ยาวนานกว่านั้น ในช่วงปลายทศวรรษ พ.ศ. 2510 สังคมรัฐบาลต้องมีความเห็นร่วมกันว่าการควบคุมป่าไม้โดยรัฐที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ  ระบบการควบคุมแบบรวมศูนย์และนโยบายบางประการที่มุ่งเน้นเรื่องการถลุงทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดำเนินต่อมาหลายทศวรรษให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเกิดการสูญเสียพื้นที่ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงนำไปสู่ในการดำรงชีพของบุคคลพึ่งพิงป่าไม้ในภาพรวม  การตระหนักถึงความจริงดังกล่าวถือเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้นอกจากนี้   จากประสบการณ์การทำงานหลายปี ทำให้ได้ตระหนักเพิ่มอย่างชัดเจนว่า การขาดความรู้ทางด้านเทคนิค ทักษะความสามารถ และวิถีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การสร้างนโยบายและการดำเนินงานด้านป่าไม้ชุมชนมีปัญหาได้ 

ด้วยความเข้าใจถึงสถานการณ์ในระดับภูมิภาคนี้นำไปสู่การก่อตั้งศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) โดยความร่วมมือขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ (ผ่านธนาคารพัฒนาเอเชีย) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย รีคอฟทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรอบภูมิภาคซึ่งให้บริการด้านการฝึกอบรมและงานวิจัยด้านวนศาสตร์ชุมชน ซึ่งนำโดย ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากการก่อตั้ง 13 ปี รีคอฟได้รับการยอมรับเป็นองค์กรอิสระในระดับนานาชาติ และหลังจากนั้นอีก 10 ปี รีคอฟได้ขยายไปสู่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเพิ่มขึ้น เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ เนปาล ไทย และเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2561 องค์กรได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ)” 

เมื่อสะท้อนถึงขอบเขตการดำเนินงานโดยรวมที่ทางศูนย์ได้ดำเนินงานอยู่ ชื่อนี้ได้สะท้อนพันธกิจยังคงดำเนินงานอยู่ต่อไปจากวันที่เริ่มก่อตั้งคือ

เพื่อเสริมสร้างความสามารถเพื่อส่งเสริมสิทธิที่เข้มแข็งขึ้น  มีการปรับปรุงระบบการบริหารให้ได้ธรรมภิบาลที่ดีขึ้นและผลประโยชน์ที่เป็นธรรมมากขึ้น ให้แก่คนท้องถิ่นที่ได้เข้าร่วมในการสร้างภูมิทัศน์ป่าไม้ที่ยั่งยืน ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

เพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว รีคอฟได้ทำหลักปรัชญาที่สั่งสมมาจากบทเรียนอันยาวนานตลอด 30 ปี ที่ว่าคนท้องถิ่นเป็นผู้จัดการและผู้ดูแลป่าไม้และภูมิทัศน์ของตนเองได้ดีที่สุด ดังนั้นเราจึงดำเนินงานตามแนวทางหลัก 4 ประการ ซึ่งจะทำให้พวกเราสามารถผลักดันให้วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรสามารถเกิดขึ้นจริงได้

1. สิทธิที่ชัดเจนและเข้มแข็งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
2. ความร่วมมือที่เข้มแข็งร่วมกันระหว่างชุมชน ภาคเอกชนและรัฐบาล เป็นความจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น
3. การบริหารที่มีธรรมาภิบาลเป็นรากฐานงานพัฒนาและการดำเนินนโยบายป่าไม้โครงการและระเบียบกฎหมายที่เป็นมิตรต่อชุมชน
4. การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมให้แก่คนท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการช่วยลดความยากจนและเป็นแรงกระตุ้นให้มีการมีส่วนร่วมอย่าง   แข็งขันในการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน