RECOFTC ประเทศไทย
เกี่ยวกับ

Languages

องค์กรพันธมิตรของเรา

ภารกิจของรีคอฟในการสนับสนุนป่าชุมชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคนี้เกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์ทางการเงินหลักและผู้อุปถัมภ์โครงการอื่นอีกหลายรายด้วยกัน

ผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินและผู้อุปถัมภ์ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา 

หน่วยงานเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (SDC)

SDC เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนหลักแก่รีคอฟตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2530 และยังคงให้การสนับสนุนหลักจนถึงปี พ.ศ. 2551 รวมถึงโครงการเสริมสร้างศักยภาพอื่นๆอีกมากมาย เช่น REDD+ และงานพัฒนาเชิงสถาบันของเครือข่ายป่าสังคมอาเซียน (ASFN) ปัจจุบัน SDC ให้การสนับสนุนความร่วมมือโครงการด้านป่าสังคมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งอาเซียน (ASFCC) ที่รีคอฟเป็นองค์กรภาคีรับผิดชอบด้านการดำเนินงานอยู่ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 SDC ได้ตกลงต่อสัญญาการเป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนให้กับภูมิภาคเอเชียผ่านการส่งเสริมป่าชุมชนเพื่อแก้ไขความท้าทายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและภาวะการคลาดแคลนน้ำ

สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสวีเดน (Sida)

Sida ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินกับรีคอฟมาตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยนับได้ว่า Sida มีส่วนร่วมในการก่อตั้งรีคอฟเลย Sida กลายเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินหลักในปี พ.ศ. 2547 และยังคงให้การสนับสนุนป่าชุมชนอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความยากจน บรรเทาและปรับตัวจากผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อีกทั้งเพิ่มสิทธิและความสามารถในการดำรงชีพ ข้อตกลงสนับสนุนทางการเงินฉบับปัจจุบันครอบคลุมระยเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2564

รัฐบาลไทย

รัฐบาลไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งรีคอฟและและได้ลงนามกฎบัตรรีคอฟ  รีคอฟร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกรมป่าไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายป่าชุมชนระดับประเทศและกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชนทั่วประเทศจำนวนมาก  ในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือได้ช่วยสร้างศักยภาพให้กับผู้นำองค์กรภาครัฐท้องถิ่นและระดับประเทศ ผู้จัดการป่าชุมชนและนักปฏิบัติในการจัดการป่าไม้ยั่งยืน อีกทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้น  รัฐบาลไทยยังได้สนับสนุนงบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนโครงการประเทศไทยของรีคอฟเพื่อส่งเสริมโครงการริเริ่มต่างๆด้านป่าไม้ชุมชนในประเทศไทยผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สหภาพยุโรป (EU)

สหภาพยุโรปสนับสนุนทุนให้กับโครงการ ที่ปัจจุบันรีคอฟดำเนินงานอยู่หลายโครงการ โครงการขนาดใหญ่ที่สุดระยะยาว 5 ปี (2560-2564) ครอบคลุมหลายประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของภาคประชาสังคมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลป่าไม้ของ FLEGT และ REDD+  นอกจากนั้น สหภาพยุโรปยังให้เงินทุนโครงการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรบริหารและเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนของเครือข่ายและองค์กรบริหารท้องถิ่นลุ่มน้ำอิงในภาคเหนือของประเทศไทย  อีกโครงกานหนึ่งที่สหภาพยุโรปให้เงินทุนคือโครงการพัฒนาศักภาพของภาคประชาสังคมด้านกลไกธรรมาภิบาลป่าไม้ในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2561  สหภาพยุโรปยังถือเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนหลักโครงการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่คุ้มครองภายใต้แผนดำเนินงานภาคตะวันออก ภูมิทัศน์ประเทศกัมพูชา (ENRTP) นำโดยกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และรีคอฟเป็นองค์กรภาคีรับผิดชอบการปฏิบัติงาน

ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้ให้ทุนโครงการริเริ่ม REDD และการบริหารจัดการป่าไม้ยั่งยืนเพิ่มความศักยภาพการดำรงชีพในชนบทผ่านป่าชุมชน ซึ่งถือเป็นโครงการสำคัญของรีคอฟในประเทศกัมพูชา (พ.ศ. 2553-2558) ที่ส่งเสริมให้เกิดป่าชุมชนอย่างเป็นทางการและมีการวางแผนบริหารในชุมชนป่าไม้กว่า 200 แห่ง (มากกว่า 50% ของชุมชนป่าไม้ภายใต้การพัฒนาตามแบบ)ทั่วประเทศ  อีกโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรปคือโครงการริเริ่มสร้างความพร้อมเพื่อ FLEGT นำเสนอโดยรีคอฟผ่านโครงการ FLEGT หลายโครงการ ที่ทำดำเนินงานโดยสถาบันป่าไม้ยุโรป (EFI) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

ความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP-GEF)

รีคอฟดำเนินงานด้วยแนวทางการสร้างภาคีความร่วมมือ การทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ รวมถึงรัฐบาล มหาวิทยาลัย องค์กรไม่แสวงหากำไร และองค์กรร่วมระหว่างรัฐบาล เพื่อช่วยคนในท้องถิ่นให้ได้รับสิทธิที่มั่นคงทางป่าไม้ ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงการบริหารจัดการป่า และได้รับผลตอบแทนในสัดส่วนที่ยุติธรรม

คณะทำงานประชาคมอาเซียนด้านป่าสังคม (AWG-SF)

ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อเครือข่ายป่าสังคมอาเซียน ซึ่งก่อตั้งโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้อาวุโสของอาเซียน (ASOF) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 คณะทำงานชุดนี้เป็นคณะทำงานป่าชุมชนที่ได้รับการผลักดันโดนภาครัฐชุดแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รีคอฟได้ให้การสนับสนุนการทำงานของ AWG-SF ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในด้านการพัฒนาศักภาพและการสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านโครงการด้านป่าชุมชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งอาเซียน (ASFCC)  ปัจจุบัน รีคอฟได้เข้าร่วมกิจกรรมในระดับภูมิภาค และในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม  AWG-SF เป็นองค์ภาคีที่มีส่วนสำคัญในการจัดเวทีคนและป่าระดับภูมิภาคครั้งที่ 2 และ 3 ที่ได้จัดขึ้นในกรุงเทพช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 ถึงพฤศจิกายน 2556  นอกจากนี้ ทางรีคอฟและ AWG-SF มีงานตีพิมพ์ที่ให้ความรู้อย่างมากมายในเรื่องบทบาทของป่าชุมชนภูมิภาคอาเซียนภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว

สถาบันป่าไม้ยุโรป (EFI)

EFI เป็นเครือข่ายวิจัยชั้นนำด้านป่าไม้ที่จัดตั้งขึ้นของสหภาพยุโรปภายใต้แผนงานการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ภูมิภาคเอเชียที่บริหารจัดการโดย สถาบันป่าไม้ยุโรป รีคอฟได้ผลิตผลงานการวิจัยและสิ่งตีพิมพ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการ ลดความยากจนและพัฒนาสภาพป่าผ่านสิทธิการถือครองป่าไม้ที่ผ่านการปรับปรุงแล้ว อีกทั้งรีคอฟยังได้ประสานให้มีการประชุมหารือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการพัฒนาข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย แผนปฏิบัติการ EU-FLEGT สำหรับภูมิภาคเอเชียนั้นมีบทบาทหลักในการส่งเสริมและอำนวยการให้กับการค้าไม้ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกกฎหมายทั้งในระดับนานาชาติทั้งภายในภูมิภาคเอเชียและส่งออกไปสู่ตลาดผู้บริโภคอื่นๆ  โดยมีความตั้งใจเพิ่มความเข้าใจเรื่องความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดบริโภคไม้หลักและส่งเสริมการใช้ระบบช่วยผู้ซื้อและผู้ขายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากเอเชียเพื่อตอบโจทก์ความต้องการอย่างยั่งยืนมากขึ้น

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

รีคอฟได้ร่วมมือกับ FAO สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น สัปดาห์ป่าไม้เอเชียแปซิฟิค, เวทีภูมิภาคครั้งที่ 1 และ 2 เพื่อคนและป่า, และโครงการวิจัย ประเมินและงานเขียนสังเคราะห์ในประเด็นปัจจุบัน เช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศในนโยบายป่าไม้ระดับประเทศ การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ และงานตรวจสอบการดำเนินงานเจรจาภายใต้กรอบ UNFCCC ประจำปีเพื่อป่าไม้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค นอกจากนั้น รีคอฟและ FAO ยังได้ร่วมมือกันจัดงานพัฒนาศักยภาพ เช่น การพัฒนาโครงการอบรมระดับภูมิภาคตามคู่มือแนวทางการปฏิรูปสิทธิบนผืนป่า คู่มือวิเคราะห์และพัฒนาการตลาด (MA&D)และการพัฒนาศักยภาพสำหรับภาคประชาสังคม เรื่องการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้า (FLEGT)อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อรองข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA)ในประเทศที่รีคอฟดำเนินงานอยู่ภายใต้โครงการ FAO-EU FLEGT

สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

รีคอฟเป็นสมาชิกของ IUCN และได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและสำนักงานประเทศไทย โดยให้ความร่วมมือในประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายประเด็น เช่น การบริหารจัดการป่าไม้ชุมชน ธรรมาภิบาลป่าไม้ การบริหารจัดการภูมิทัศน์ การทำโมเดลระบบนิเวศน์เพื่อการปรับตัว และ REDD+ รวมถึงการตีพิมพ์งานวิจัยหลายหัวข้อและเครื่องมือจัดฝึกอบรมต่างๆ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นส่วนสำคัญมากต่อการจัดตั้งรีคอฟและการปฏิบัติงานประจำวัน เนื่องจากให้การสนับสนุนรีคอฟด้านโครงสร้างพื้นฐานและที่ดินสำหรับจัดตั้งรีคอฟสำนักงานใหญ่ ศูนย์วนศาสตร์มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับคณะวนศาสตร์ คณะบดีมีสถานะเป็นสมาชิกของคณะกรรมการรีคอฟ และทั้งสองสถาบันจัดการประชุม FORTROP II ร่วมกันในปี พ.ศ. 2551

กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)

รีคอฟเป็นภาคีปฎิบัติงานที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากโครงการ “ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่คุ้มครองภายใต้แผนดำเนินงานภาคตะวันออก ภูมิทัศน์ประเทศกัมพูชา (ENRTP)” แห่งสหภาพยุโรป รีคอฟร่วมมือกับ WWF ภายใต้ RAFT ทำให้ WWF กลายเป็นภาคีปฏิบัติงานของโครงการ V4MF ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2560