เวทีเปิดตัวรายงาน 30 ปี ขบวนการป่าชุมชนและเสวนา พรบ.ป่าชุมชน 2562
เวทีเปิดตัวรายงานการศึกษา "30 ปี ขบวนป่าชุมชน บทเรียน และทิศทางการขับเคลื่อนสู่ทศวรรษที่ 4” และเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายและข้อเสนอแนะต่อพรบ.ป่าชุมชน เมื่อบังคับใช้กฎหมายแล้ว”
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 (0900-1200 น.) ณ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
กว่า 3 ทศวรรษที่มีการขับเคลื่อนป่าชุมชนในสังคมไทย จากจุดเริ่มต้นเหตุการณ์ที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาซึ่งในช่วงนั้นรัฐยังมีการให้เอกชนสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ ทั่วทุกภูมิภาค ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นชาวบ้านห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่รวมตัวกันต่อต้านนายทุนที่เข้ามาเช่าพื้นที่ป่าสาธารณะปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ ประกอบกับเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่อำเภอกระทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน เกิดมีกระแสการปกป้องป่า จนรัฐบาลยุติสัมปทานป่าบกทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2532 และเกิดกระแสชุมชนปกป้องป่าและต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าในรูปแบบป่าชุมชน และพยายามในการผลักดันกฎหมายป่าชุมชนเรื่อยมาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวของเครือข่ายป่าชุมชนอย่างกว้างขวางทุกภูมิภาค และเรียกร้องการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้จนสิทธิชุมชนปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540และยังคงผลักดันให้มี พรบ.ป่าชุมชน ประชาชนใช้สิทธิ์เสนอร่างกฎหมายโดยการเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ เป็นร่างกฎหมายฉบับแรกที่ประชาชนเป็นฝ่ายยื่นกฎหมายในสังคมไทยในปี พ.ศ. 2541แต่ด้วยแนวคิดการจัดการป่าโดยชุมชนมีความแตกต่างหลากหลายทำให้มีการยื่นร่าง พรบ. ป่าชุมชนจากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ ภาคฝ่ายการเมือง ฯลฯ แต่ก็ตกไปในทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแม้จะไม่มีกฎหมายรองรับ จน ปี. พ.ศ. 2561 รัฐบาลได้มีการหยิบยกร่าง พรบ.ป่าชุมชนมาพิจารณา โดย สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป (สปท.) นำร่างฉบับของสภานิติบัญญัติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และของกรมป่าไม้มาพิจารณา และเสนอร่าง พรบ.ป่าชุมชนให้ ครม.พิจารณาและได้เห็นชอบในปี พ.ศ. 2561 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นควรประกาศเป็นกฎหมายในวันที่ 29 พ.ค. 2562 โดยจะบังคับใช้ทุกมาตราในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ยังมีประเด็นท้าทายหลายประการในการปฏิบัติทั้งพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นป่าชุมชนได้ ซึ่งปัจจุบันกำลังร่างกฎกระทรวงว่าด้วยพื้นที่อนุรักษ์ โดย1 ใน 4 คือพื้นที่มีคุณค่าหรือความโดดเด่นทางระบบนิเวศและได้รับการประกาศและขึ้นทะเบียนกับองค์กรประเทศ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแรมซ่าร์ซึ่งพบว่าป่าหลายแห่งที่ชุมชนดูแลจัดการป่าที่อยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าชุ่มน้ำ เช่น 17 ป่าชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ป่าบุ่งป่าทามในลุ่มน้ำสงครามตอนล่างจำนวนมากที่ดูแลจัดการป่ามายาวนานมาหลายสิบปีนอกจากนี้ยังมีพบว่ายังมีพื้นที่ป่าที่ชุมชนจัดการดูแลในรูปแบบเป็นป่าชุมชนมาอย่างยาวนานกว่า 300 แห่ง แล้วต่อมาเป็นพื้นที่เตรียมประกาศพื้นที่อนุรักษ์ จะมีทางเลือกทางออกกันอย่างไรในวาระที่จะมีเริ่มบังคับใช้กฎหมายป่าชุมชนในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 จึงจะจัดการเปิดตัวเอกสารและแลกเปลี่ยน เส้นทาง 30 ปีขบวนป่าชุมชน บทเรียน และทิศทางขับเคลื่อน พร้อมกับการเสวนา ทิศทางป่าชุมชนในทศวรรษที่ 4 และทางเลือกทางออกกรณีที่ยังเป็นเรื่องท้าทายของป่าชุมชนภายใต้นโยบาย กฎหมายใหม่
วัตถุประสงค์
1. นำเสนอและเปิดตัวรายงานการศึกษาและแลกเปลี่ยน 30 ปี ขบวนป่าชุมชน บทเรียนและทิศทางขับเคลื่อนสู่ทศวรรษที่ 4
2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อกฎหมายป่าชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย 30 คน ประกอบด้วยตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชนแต่ละภูมิภาค นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และนิสิต นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป
หน่วยงานรับผิดชอบ
• แผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า
• คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่
ห้องไชน่า ณ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพมหานคร
เวลา |
รายละเอียดกิจกรรม |
9.00 – 9.30 น. |
ลงทะเบียนรับเอกสาร 30 ปี ขบวนป่าชุมชนในสังคมไทยและทิศทางในทศวรรษที่ 4 |
9.30 – 9.40 น. |
|
9.40 – 10.00 น. |
แนะนำเอกสาร“30 ปี ขบวนป่าชุมชน บทเรียนและทิศทางขับเคลื่อนสู่ทศวรรษที่ 4” โดย ดร.กฤษฏา บุญชัย มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และ ระวี ถาวร แผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า |
10.00 – 11.00 น. |
เสวนา จากบทเรียน 30 ปีป่าชุมชน...สู่ก้าวต่อไปทศวรรษที่ 4 ร่วมเสวนาโดย
|
11.00 - 11.15 |
รับประทานอาหารว่าง |
11.15- 12.30 น. |
เสวนา ความท้าทายและข้อเสนอแนะต่อพรบ.ป่าชุมชน เมื่อบังคับใช้กฎหมายแล้ว วิทยากร
ดำเนินรายการโดยระวี ถาวร แผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า |
12.30 น. |
ปิดการเสวนา |