RECOFTC ประเทศไทย
บทความ

ทำไมต้องมีโครงการนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย?

06 September 2017
RECOFTC แผนงานประเทศไทย
จากข้อมูลสถิติกรมป่าไม้ปี 2558 พบว่ามีสถิติการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้( การบุกรุกพื้นที่ป่า การทาไม้ สัตว์ป่า/ของป่า) 7,958 คดี ในพื้นที่กว่า 141,057 ไร่ ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายกว่า 10,035,484,932 ล้านบาท ในขณะที่ การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ มีจำนวน 3,324 คดี ในพื้นที่กว่า 16,686 ไร่ในปีเดียวกัน โดยได้ของกลางเป็นไม้ท่อนและไม้แปรรูปกว่า 66,645 ท่อน
In Focus
เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรีกับเฟล็กที
อัฉราภรณ์ ได้ไซร้

ปัญหาไม้เถื่อนในประเทศไทย

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปิดป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อรักษาทรัพยาการป่าไม้ แต่การกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้ โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่ป่า ก็ยังคงมีให้เห็นถึงปัจจุบัน ซึ่งการขาดธรรมมาภิบาลเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการค้าไม้เถื่อน เพื่อจะแก้ไขอุปสรรคนี้ประเทศไทยจึงได้เข้าสู่การทำข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนโดยความสมัครใจเรื่องการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า ที่เรียกว่า “การเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ วีพีเอ” กับทางสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสามารถตรวจสอบที่มาของไม้ว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย แต่หากเกิดผ่านกระบวนการสร้างความชัดเจนของการบังคับใช้กฎหมาย ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

คุณวรางคณา อธิบายปัญหาไม้เถื่อนในประเทศไทย

 

ทำไมต้องมีการทำโครงการนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

เพื่อการตรวจสอบที่มาของไม้ว่ามีที่มาถูกต้องตามกฎหมาย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) จึงได้ดำเนินโครงการ “ การเสริมสร้างความสามารถเกษตรกรรายย่อยในการเข้าถึงการทำไม้และการค้าไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ปฏิบัติตามกระบวนการวีพีเออย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทย ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ทดลองและสาธิตกระบวนการและขั้นตอนที่สามารถแก้ไขข้อจำกัดและเหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกรรายย่อยในการทำไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและสร้างกระบวนการทำงาน โดยมีความร่วมมือของฝ่ายราชการ ภาคธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการทำไม้ที่ถูกต้องของชุมชนและเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่นำร่องฯ

กระบวนการคัดเลือกพื้นที่โครงการนำร่องฯ

กระบวนการคัดเลือกพื้นที่โครงนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องเริ่มวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา จากการประชุม “เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขข้อจำกัดและอุปสรรคในการเข้าร่วมการทำไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมายของเกษตรกรรายย่อยและชุมชน” ผลของการจัดกิจกรรมได้มีการคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3 พื้นที่ จาก 9 โครงการทั่วประเทศ โดยใช้เกณฑ์ของร่างคำนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของการทำไม้ 3  กรอบ ที่ประกอบด้วย ประเภทของที่ดิน ชนิดไม้ที่ปลูกในพื้นที่ และกรอบกฎหมายที่ใช้ในการนำร่องฯโดยกระบวนการนำร่องฯนี้จะดำเนินการอยู่บนหลักการการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโครงการจะดำเนินการต่ออย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือก

ภายใต้โครงการนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฏหมายของเกษตรกรรายย่อย มีดังต่อไปนี้
1.ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออนจังหวัด เชียงใหม่ ประเภทที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช)          
2.ตำบลเมืองลีง อำเภอเมืองลีง จังหวัดสุรินทร์ประเภทที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน (โฉนดที่ดิน)
3. ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ประเภทที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ( ส.ป.ก.)

การเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ
ในเดือนมกราคม เเละกุมภาพันธ์ 2560  รีคอฟได้เปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อการทำไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกิจกรรมการการเสวนาและการเปิดตัวโครงการในแต่ละพื้นที่ ดังต่อไปนี้ 

พื้นที่ประเภทที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามนโยบายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.) ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออนจังหวัด เชียงใหม่ การนำร่องในโครงการพื้นที่นี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึงสิทธิการใช้ที่ดิน การวิเคราะห์สิทธิ์การใช้ที่ดินที่ได้รับมอบจากคณะกรรมการที่ดินเเห่งชาติ( คทช.) โดยมีการเปิดตัวโครงการนำร่องฯ วันที่ 19 มกราคม 2560 โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานและเสนอแนะแนวเพื่อนำไปสู่การทำไม้ที่ถูกต้องในพื้นที่ เช่น ประชาชนในพื้นที่สามารถขออนุญาตการใช้ไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 เเต่ยังมีข้อห่วงใยคือ การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายนั้นยังมีความยุ่งยาก เเละผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติคำขออนุญาต ซึ่งอาจจะใช้เวลาในการดำเนินการยาวนาน อย่างไรก็ดีหน่วยงานที่เข้าร่วมได้ยังแสดงความสนใจในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการนำร่องฯในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นความร่วมมือ อันจะนำไปสู่การผลักดัน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการป่าอย่างยั่งยืนในพื้นที่ในอนาคต