RECOFTC ประเทศไทย
บทความ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการลดภาวะความยากจนมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่?

06 June 2010
RECOFTC แผนงานประเทศไทย
In Focus
การอยู่ดีกินดีของประชาชน
อัฉราภรณ์ ได้ไซร้

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการลดภาวะความยากจนมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่?


คุณโทมัส เอนเทอร์ส ได้ให้ข้อคิดเห็นเชิงลึกสำหรับการถกเถียงกันในประเด็นนี้  โดยกลั่นกรองจากความขัดแย้งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในบริเวณรอบๆ อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย
 
บทความด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ได้ตั้งคำถามขึ้นตรงๆ ว่า

“การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ทำกันมากขึ้นนั้น มีส่วนช่วยคนยากจนที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของโลกไหม หรือฉุดรั้งคนเหล่านั้น”  

คุณโทมัส เอนเทอร์สได้ให้ความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ในมุมมองของเขตพิทักษ์ที่มีการถกเถียงกันในประเทศไทยไว้ดังนี้
การอนุรักษ์ช่วยลดภาวะความยากจนไหม?  คำตอบใน บทความด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินั้นค่อนข้างชัดเจนคือ  ส่วนใหญ่แล้วการอนุรักษ์ไม่ได้ช่วยลดภาวะความยากจน  แต่/แม้ว่ามีตัวอย่างหลายกรณีที่การอนุรักษ์ทำให้เกิดผลประโยชน์ในระยะยาว แต่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะไม่ถึงมือคนยากจนที่จำเป็นต้องได้รับผลประโยชน์นั้น


คำตอบนี้เหนือความคาดหมายไหม? สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วอาจไม่น่าประหลาดใจ  เพราะมีคนตั้งคำถามในเรื่องนี้มานานพอควรแล้ว  เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว คุณอาจิต บาเนอจี้ ได้นำประเด็นนี้ขึ้นมาพูดเป็นเรื่องเด่นไว้ว่า “ต้นไม้เล็กๆ/ผลประโยชน์ส่วนน้อย” เท่านั้นที่ถึงมือ “คนเล็กๆ/คนยากจน”  ในขณะที่ “ต้นไม้ใหญ่ๆ/ผลประโยชน์ส่วนใหญ่” ถูกรักษาไว้เพื่อสร้างความร่ำรวยให้แก่ “คนใหญ่โต/คนร่ำรวย”    ส่วน รีคอฟนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำการศึกษาทบทวนเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างป่าและการจัดการป่าไม้กับการลดภาวะความยากจน และ ก็ได้ข้อสรุปคล้ายๆ กัน


หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเขตพิทักษ์ช่วยลดภาวะความยากจน
การศึกษาวิจัยที่จัดทำขึ้นใหม่โดย คุณควอว์ อันดัมและเพื่อน ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป  อันดัมและเพื่อนได้ข้อสรุปว่า   เขตพิทักษ์ช่วยลดภาวะความยากจนในประเทศคอสตาริก้าและประเทศไทย   ในการศึกษาครั้งนี้ อันดัมและเพื่อน ได้ศึกษาสถานการณ์ของคนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบๆ เขตพิทักษ์  เปรียบเทียบกับสถานการณ์ของชาวบ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการอนุรักษ์เขตพิทักษ์  จากการศึกษาข้อมูลด้านความยากจนในฐานข้อมูลการสำรวจสำมโนประชากรแห่งชาติ อันดัมและเพื่อนไม่พบหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า “ระบบการอนุรักษ์เขตพิทักษ์ทำให้ภาวะความยากจนโดยเฉลี่ยของชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเขตพิทักษ์มีสภาพแย่ลง”  อันดัมและเพื่อนยังได้ทำการศึกษาตรวจเช็คข้อมูลอย่างจริงจังหลายครั้ง แต่ก็ตระหนักดีว่า ไม่ว่าการศึกษาครั้งนี้จะทำอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม ข้อค้นพบของพวกเขาก็ไม่ควรถูกมองอย่างผิวเผินหรือตีความผิดๆ  อันดัมและเพื่อนได้แจกแจงข้อจำกัดต่างๆ ของข้อค้นพบเหล่านั้นไว้ด้วย


ข้อสรุปนี้ถูกต้องไหมสำหรับประเทศไทย?
คุณแอน ดนัยยา อัชเชอร์ ไม่ค่อยมั่นใจในข้อสรุปของอันดัมและเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกรณีของประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้กล่าวว่าข้อสรุปนั้นผิด  ในบทความ/หนังสือเรื่อง การจัดการป่าไม้ของไทย – ประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง อัชเชอร์อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า  อุทยานแห่งชาติของไทย ส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคุณค่าด้านทัศนียภาพและศักยภาพของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว  จึงไม่ต้องสงสัยว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเงินสะพัดเข้ามาสู่พื้นที่ต่างๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า เงินเหล่านั้นตกไปถึงมือคนยากจนหรือไม่  บางทีคนยากจนอาจได้รับอานิสงค์ก็ได้!


กฎหมายอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ของไทย ได้ผลักดันแนวคิดของตะวันตกอย่างชัดเจนหรือโดยทางอ้อม โดยพยายามจัดตั้งอุทยานแห่งชาติที่เป็นป่าอย่างแท้จริง ที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่และไม่มีการใช้ที่ดินในผืนป่าโดยสิ้นเชิง  ความพยายามให้ผืนป่าของไทย

“ปราศจากผู้คนอาศัยอยู่”

นั้นเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริงอย่างยิ่ง  ทั้งนี้เพราะ ทุกวันนี้ยังมีประชากรจำนวนประมาณ 460,000 คนที่พึ่งพิงทรัพยากร และอาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐที่กันไว้เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าเชิงนิเวศ หรือมีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยว   คนท้องถิ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนยากไร้ ได้รับผลประโยชน์จากการพิทักษ์ป่าจริงๆ หรือ?  ถ้าคนเหล่านี้ได้รับประโยชน์จริง  เหตุใดกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับป่าและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีการยื่นฟ้องต่อรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2545-2549  ส่วนใหญ่จึงเกี่ยวเนื่องกับวิธีการจัดการเขตพิทักษ์และอุทยานแห่งชาติถึงร้อยละ 89   ถ้าคนยากจนได้ประโยชน์จากการอนุรักษ์ จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากขนาดนั้นหรือ    ข้อสรุปดังกล่าวจึงยังไม่มีคำอธิบายที่สนับสนุนชัดเจน
ภาพกว้างของโลกกว้าง
กรณีศึกษาของอันดัมและเพื่อนแทบจะไม่มีข้อมูลที่ทำให้เห็นภาพกว้าง  แต่ก็ให้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์เฉพาะอย่างได้อย่างลึกซึ้ง  การศึกษาเปรียบเทียบชุดข้อมูลความยากจนแห่งชาติโดยละเอียด เป็นการมองภาพกว้างที่ช่วยเสริมช่องว่างของกรณีศึกษาได้ระดับหนึ่ง  และทำให้งานวิจัยของอันดัมและเพื่อนมีความสำคัญ  อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยของอันดัมก็ตระหนักในข้อจำกัดนี้  และเสนอแนะให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการจัดการเฉพาะเจาะจงที่ทำให้เขตพิทักษ์มีส่วนช่วยลดภาวะความยากจน
งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ แต่ยังเป็นเพียงผลการวิจัยเบื้องต้น  จึงยังไม่ควรตีพิมพ์จนกว่าจะได้มีการศึกษาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์  ที่ให้คำแนะนำเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นปากเสียงให้กับคนยากจนจำนวนหลายแสนคน ที่ระบบการอนุรักษ์เขตพิทักษ์และนโยบาย “ป่าบริสุทธิ์” ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ เป็นการคุกคามวิถีชีวิตและการทำมาหาเลี้ยงชีพของพวกเขา  หากรอให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด อาจได้เห็นความคืบหน้าของงานเขตพิทักษ์ที่เราคาดไม่ถึง