เครือข่ายเยาวชนต้นกล้า : ศูนย์กลาง เข็มทิศ และบ้าน สำหรับผู้นำเยาวชนด้านป่าไม้
จังหวัดเพชรบุรี, ประเทศไทย, 19-23 ตุลาคม2010: คุณมีโอกาสบ่อยไหม ที่จะได้อยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยผู้ใหญ่ในวัยเริ่มต้นที่มีพรสวรรค์ พูดจาคล่องแคล่ว และมีความตระหนักรู้ตนเองเป็นอย่างดี ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณยังไม่ได้ทำอะไรให้สังคมมากนักเท่าที่คุณควรจะทำ เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมของค่ายเครือข่ายเยาวชนต้นกล้า (Young Seedlings Network Camp หรือ YSN ) วรธัช แก้วสมบัติ นักเขียนข่าวทีวี ของทีวีไทย (Thai PBS) ได้ร่วมแบ่งปันความเชื่อของเขาซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกันคือ “ผมเชื่อมาเสมอว่า โลกนี้มีคน 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่งคือ พวกที่มีหัวใจไม่เต็มร้อย ส่วนประเภทที่สองคือ พวกที่เปลี่ยนแปลงโลก ผมรู้สึกอิจฉาพวกคุณทุกคน เพราะว่าคุณคือพวกที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงได้
โครงการเครือข่ายเยาวชนต้นกล้า (YSN) พัฒนาขึ้นโดยแผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC – The Center for People and Forests’ Thailand Country Program) และได้รับการสนับสนุนงบประมารจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล YSN มีหน้าที่เสริมสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนที่สนใจด้านการจัดการป่าไม้ชุมชน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งปี เริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 กิจกรรมหลากหลายที่ YSN ได้จัดขึ้นมีตั้งแต่ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฝึกอบรมเรื่องการวัดคาร์บอน ไปจนถึง การวางแผนการจัดการป่าไม้ชุมชน การฝึกอบรมด้านการจัดการ และการฝึกอบรมเรื่องการจัดการระบบนิเวศแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมเหล่านี้มุ่งเน้นกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยและคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ที่พวกเขาสามารถทำได้ที่บ้านของตน และความสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพวกเขา กิจกรรมล่าสุดคือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการทบทวนบทเรียนและการเขียนรายงาน เป็นระยะเวลา 5 วัน ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เขียนได้เห็นชุมชนหลายชุมชนเข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเยาวชนต้นกล้าต่างร่วมกันมุ่งทบทวนบทเรียนของปีที่ผ่านมา
ในปีแรกที่เริ่มเข้ามาร่วมโครงการ เยาวชนส่วนใหญ่มีความเฉยชาต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและชุมชนของพวกเขา หลังจากผ่านไป 1 ปี ความเฉยชาของพวกเขาเริ่มจางไป มีความเข้าใจเข้ามาแทนที่ เป็นความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงบทบาทความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อชีวิตของพวกเขา และมีความเชื่อในตนเองมากขึ้น เยาวชนที่ได้เข้าค่าย YSN ยังได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันจนเป็นปึกแผ่น ช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างเครือข่ายสังคมที่คล้ายๆ กับ YSN ได้ เพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเมื่อพวกเขาอยู่ที่บ้าน รวมทั้งยังเป็นช่องทางให้พวกเขาได้มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงสำหรับเยาวชนรุ่นน้อง
“ก่อนที่ฉันจะเข้ามาร่วมโครงการ ฉันไม่มีความรู้เลย (เกี่ยวกับป่าชุมชน) ฉันไม่อยากจะเข้าร่วมโครงการเพราะฉันขี้เกียจ ฉันพูดได้โดยไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันขี้เกียจจริงๆ! แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมกลุ่ม YSN แล้ว ฉันได้เรียนรู้วิธีการวัดคาร์บอน ได้มีโอกาสทำหนังสั้นๆ ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ และได้ทำการเก็บข้อมูลชุมชน” เต๋า อายุ 14 ปี จากจังหวัดระนอง
ที่บ้านเกิดในชุมชนของเยาวชนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มป่าชุมชน 20 กลุ่ม ที่เข้าร่วมโครงการ YSN พวกเขาได้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมระดับรากหญ้าหลากหลายกิจกรรมในปีนี้ อาทิ นำขยะในป่ากลับมาใช้ใหม่เพื่อหาทุนสำหรับกิจกรรมชุมชน เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ เก็บข้อมูลการใช้ที่ดินในหมู่บ้านของพวกเขา การวัดคาร์บอน การเจริญเติบโต และการใช้น้ำของต้นไม้ ริเริ่มศูนย์เรียนรู้ชุมชนเกี่ยวกับไม้ไผ่/ต้นไผ่ จัดตั้งตลาดเกษตรกรสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชม สร้างหนังสั้นๆ เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของพวกเขา และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับการศึกษา สิ่งแวดล้อม และชุมชน
การได้เข้ามาร่วมในเครือข่าย YSN ทำให้เยาวชนมีความมั่นใจและมีทักษะด้านเทคนิควิธีการมากขึ้น สามารถเข้าไปให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ของชุมชนได้ และในหลายกรณี สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำของกิจกรรมเหล่านั้น การนำบุคคลที่มีความมุ่งมั่นเข้ามาร่วมกลุ่มนี้ได้ YSN จึงเหมือนกับเป็นระบบนิเวศทางวัฒนธรรม เป็นระบบ/ชุดความรู้ วิธีปฏิบัติของชุมชน และประสบการณ์ที่แตกต่างกันและชัดเจน ที่พัฒนามาจากกิจกรรมแต่ละกิจกรรมและจากเยาวชนผู้เข้าร่วมแต่ละคนที่เพิ่มเข้ามา โดยเชื่อมโยงกันเป็นรูปแบบที่ละเอียดซับซ้อน
จุดมุ่งหมายหลักๆ ของโครงการ YSN คือ เพื่อสร้างชุมชนของเยาวชน โดยนำเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการเข้ามาเชื่อมโยงกันให้เป็นปึกแผ่น ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ที่เสริมสร้างให้ยึดมั่นในคุณค่าทางสังคมเหมือนกัน และมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ที่รับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน พร้อมทั้งยังเสริมสร้างความรู้และความเชื่อมั่นของเยาวชนเหล่านั้นให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นทูตเยาวชนวนศาสตร์ชุมชนต่อไป การมีโอกาสได้เข้าร่วม โครงการ YSN ครั้งนี้ ทำให้เยาวชนตระหนักเห็นเป้าหมายหลากหลาย รวมทั้งโอกาสและความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะทำได้ จึงเริ่มรู้สึกชื่นชอบที่จะได้รับความรู้และประสบการณ์มากขึ้น รวมทั้งแรงกระตุ้นที่เข้มแข็งขึ้น
“เยาวชนต้นกล้า” เหล่านี้กำลังอยู่ท่ามกลางกระบวนการบ่มเพาะแรงกระตุ้นของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้พวกเขาขับเคลื่อนทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยไม่อะไรมาหยุดยั้งพวกเขาได้”