RECOFTC ประเทศไทย
CF - NET

เกี่ยวกับเรา

แผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า

โครงการเสริมสร้างเครือข่ายป่าชุมชนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการป่าไม้ โดยการสร้างความร่วมมือของพหุพาคี หรือ (Empowering Community Forestry Networks towards improved and inclusive forest governance mechanism through multi-stakeholder cooperation)

ข้อมูลโครงการ

ระยะเวลา 1 มีนาคม 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 (48 เดือน)

งบประมาณ 856,384 ยูโร (ได้รับสนับสนุนจากอียู 750,000 ยูโร)

องค์กรร่วมดำเนินงาน ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

วัตถุประสงค์ของโครงการ
สิทธิและความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยพึ่งพิงป่า รวมถึงกลุ่มคนชายขอบ เช่นสตรีและเยาวชน ได้รับการปกป้องและส่งเสริม ผ่านกลไกการบริหารจัดการภูมิทัศน์ป่าไม้ที่มีส่วนร่วม
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการพหุภาคีของกลไกธรรมาภิบาลป่าไม้ ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยเครือข่ายป่าชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลสัมฤทธิ์ใน 2 วัตถุประสงค์ภายในพ.ศ. 2565 ดังนี้
สนับสนุนเครือข่ายป่าชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อให้มีการปรับปรุงกลไกธรรมาภิบาลป่าไม้ โดยผ่านกระบวนการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพหุภาคี
ผู้นำป่าชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มสตรีและเยาวชนมีความสามารถเป็นตัวแทนองค์กรป่าชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะการนำเสนอข้อคิดเห็นและประโยชน์ของกลุ่มคนชายขอบไปสู่กลไกการบริหารภูมิทัศน์ป่าไม้) และเพื่อสานต่อให้เครือข่ายป่าชุมชนให้คงอยู่ได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เพิ่มศักยภาพของภาคประชาสังคมเพื่อเข้าไปมีบทบาทในกลไกการบริหารจัดการป่าไม้
สนับสนุนภาวะผู้นำแบบใหม่ในการนำเสนอแนวคิดและความสนใจของสตรีและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ
สร้างระบบสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งข่าวสารด้านกลไกการบริหารจัดการป่าไม้ให้ผู้ที่มีส่วนได้เสีย
ค้นหาและนำร่องการจัดทำแนวทางความร่วมมือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความยั่งยืนของการจัดการป่าชุมชน และเพื่อสร้างความสนใจให้เกิดการลงทุน

กลุ่มเป้าหมายหลักและผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการ
กลุ่มเป้าหมายหลักคือเครือข่ายป่าชุมชน 30 เครือข่ายใน 30 จังหวัด ใน 4 ภาคของประเทศไทย โครงการนี้จะทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อย 30 องค์กร
คาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากโครงการนี้ 4.6 ล้านคน
ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน พะเยา ตาก 
พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี ตรัง และชุมพร
ภาคอิสาน สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เพชรบูรณ์
มหาสารคาม และสกลนคร 
ภาคกลาง ตราด กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และราชบุรี