RECOFTC ประเทศไทย
ING WATERSHED

กิจกรรม "สืบชะตาแม่น้ำอิง -โขง

เป็นกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงการเคารพธรรมชาติ ต่อแม่น้ำทั้งสองที่เป็นดังเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงผู้คนทั้งชาวไทย ลาว สองฟากฝั่ง ตลอดจนชุมชนลุ่มน้ำอิง กว่า260 กม.
ชุมชนร่วมกันปล่อยปลา ลงสู่แม่น้ำอิง
แผนงานประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า

พื้นที่เชียงราย และ พะเยา แม่น้ำอิงเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขงที่เชื่อมโยงทั้งทางนิเวศและวัฒนธรรมประเพณี กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้เข้าใจถึงพลังแห่งการอนุรักษ์แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ของคนกับแม่น้ำที่พึ่งพาเกื้อกูลกัน และยังเป็นการรวมตัวของเครือข่ายชุมชน สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ ปัญหา นำเสนอบทเรียนประสบการณ์ ของชุมชนในการจัดการน้ำ อย่างยั่งยืนและรวบรวมความคิดเห็นในการเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการจัดการลุ่มน้ำอิง

บริเวณอนุรักษ์พันธุ์ปลาบ้านอิง
บริเวณอนุรักษ์พันธุ์ปลาบ้านอิง

ในช่วงเช้า นายอำเภอเชียงเป็นประธาน และได้กล่าวถึงลุ่มน้ำอิงว่า "ปากอิงคือจุดเชื่อมต่อ กว๊านพะเยา  แม่น้ำอิง แม่น้ำโขง ด้วยพื้นที่ปากแม่น้ำมีพื้นที่ภูมิทัศที่สวยงาม มีฉากหลังเป็นสะพานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามไปบ่อแก้ว  วิถีชีวิตของคนปากอิงเป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญาการหาปลาในแม่น้ำโขง ที่จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยว เชิงวิถีวัฒนธรรมของเชียงของ สู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำกับวิถีชุมชน ล่องเรือกินปลา"  นอกจากนี้ยังเสริมต่อว่า   "กิจกรรมการสืบชะตาแม่น้ำอิง-โขง เป็นการแสดงความกตัญญู รู้คุณที่เรามีต่อแม่น้ำและทรัพยากรธรรมชาติที่ให้ชีวิต แสดงออกว่าเราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างไรให้เกื้อกูลกัน ซึ่งจะต้องร่วมมือกันในหลายภาคส่วนหากมีปัญหาก็ร่วมกันหาทางแก้ไขไปด้วยกันอะไรคือผลดี ผลเสีย และเอาประโยชน์ของชุมชนเป็นตัวตั้ง" 

 

ยื่นข้อเสนอที่จะร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการจัดการลุ่มน้ำอิง
ยื่นข้อเสนอที่จะร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการจัดการลุ่มน้ำอิง

ช่วงท้ายของกิจกรรม ประธานสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง นายถนอม อุตมะ ได้ยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายของภาคประชาชน ในการบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน ต่อนายกเทศบาลตำบลศรีดอนชัย เพื่อให้เกิดการบูรณาการแผนงานสู่การมีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน